Page 211 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 211
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 4 ตัวแทนภาครัฐ
การแบ่งเขตในน่านน้ำและนอกน่านน้ำทำให้เกิดการละเมิดสิทธิประมงรายย่อยหรือประมงพื้นบ้าน
เพราะศักยภาพในการออกทะเลและจับปลาของประมงพื้นบ้านมีจำกัด การกำหนดเขตการประมงด้านหนึ่งจึง
เอื้อประโยชน์ประมงบางกลุ่ม และกดทับการทำประมงของบางกลุ่ม
ด้านการปลด IUU นั้น ทางองค์กรได้มีการจัดทำทะเบียนชาวประมงและพยายามแก้ไขปัญหา
ข้อจำกัดน่านน้ำ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาการค้ามนุษย์ ในส่วนของการใช้แรงงานผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
โดยทางองค์กรได้มีการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนขึ้นเพื่อแก้ปัญหา นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดเหตุละเมิดขึ้น ไม่
เพียงแรงงานประมงไทยเท่านั้นที่สามารถรายงานได้ แรงงานต่างด้าวก็สามารถรายงานได้ด้วยหากไม่ได้รับการ
ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 5 ตัวแทนภาคธุรกิจ
ปัญหาการประมงหลัก ๆ จะเป็นปัญหาแรงงาน โดยในส่วนของ [อุตสาหกรรม] พบว่าแรงงานต่างด้าว
ได้รับสิทธิสวัสดิการที่ดีกว่าแรงงานไทย อย่างไรก็ดี หากเกิดเหตุให้ต้องมีการต่อรอง แรงงานไทยจะได้
ประโยชน์มากกว่าเพราะอุปสรรคด้านภาษาของแรงงานต่างด้าว มากไปกว่านั้น ปัญหาแรงงานจาก
ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมพบว่า แรงงานจำนวนมากมักไม่มีความรู้และความตระหนักในสิทธิของตน
เพื่อตอบคำถามในที่ประชุมว่า หากภาษาเป็นข้อจำกัดแล้ว เมื่อแรงงานไทยรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิ
การเรียกร้องครอบคลุมไปถึงแรงงานต่างด้าวด้วยหรือไม่ ผู้ให้ความคิดเห็นมองว่า แรงงานต่างด้าวเข้ามา
ทำงานเพื่อหารายได้ ไม่ต้องการมีปัญหาและเกี่ยวพันกับการเมือง
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 6 ตัวแทนภาครัฐ
การจัดระเบียบการทำประมงควรจะต้องมีการคำนึงถึงการรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม เช่น การทำประมง
พื้นบ้านด้วย อย่างไรก็ตาม การทำประมงพื้นบ้านด้านหนึ่งก่อให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อมและระบบ
นิเวศน์สูงมาก เช่น ทำให้สัตว์น้ำลดลง ในแง่นี้ การสนับสนุนการทำประมงพื้นบ้านจำเป็นจะต้องมีการจัด
ระเบียบเพื่อกำกับควบคุมการทำลายสภาพแวดล้อม
151