Page 206 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 206

4. ปัญหาสิทธิแรงงานในปัจจุบัน มักมุ่งเน้นไปที่การจ้างงานในระบบเป็นหลัก ส่งผลให้แรงงานนอกระบบ เช่น

               แรงงานภายในบ้าน (domestic worker) มักถูกละเลย และไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขการคุ้มครอง

               สิทธิให้มีความเหมาะสม




               ผู้ให้สัมภาษณ์ ภาคประชาสังคม องค์กรที่ 5


               1. ปัญหาสิทธิแรงงานที่มีความถี่สูงและขนาดใหญ่ในความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย


                       1) ปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามาทำงานในต่างประเทศ เนื่องจากการดำเนินการเดินทานและ

               เอกสารข้ามประเทศ มีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย ในแง่นี้ การที่ว่าที่ผู้ว่าจ้างไม่ได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการ

               สมัครและเดินทางจึงก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิขึ้น


                       2) ปัญหาการจ้างงานชายแดน หรือ Border employment ปัญหานี้เป็นผลมาจากการนำรูปแบบ
               การจ้างงานจำเพาะซึ่งผูกกับการทำงานเป็นฤดูกาล เช่น การทำการเกษตร มาปรับใช้กับการจ้างงานอื่น ๆ ซึ่ง

               มิได้มีบริบทเดียวกัน เป็นผลให้แรงงานกลุ่มนี้เชิญปัญหาความมั่นคงในการประกอบอาชีพ


                       3) ปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำ ยังคงมีการละเมิดค่าจ้างที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นกับแรงงานต่างด้าว


               2. สาเหตุที่มักไม่เกิดการรายงานปัญหาแรงงานต่างด้าวขึ้น ด้านหนึ่งเป็นเพราะเอกสารระบุอัตลักษณ์ เช่น

               หนังสือเดินทาง มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากหลายกรณีเกิดปัญหาผู้ว่าจ้างยึดครองหนังสือเดินทางไว้ เป็นเหตุให้
               แรงงานต่างด้าวไม่กล้าที่จะรายงานเพราะอาจจะถูกส่งตัวกลับ





               ผู้ให้สัมภาษณ์ ภาคประชาสังคม องค์กรที่ 6


               1. ในความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ การขาดแผน NBA เป็นเหตุสำคัญของการทำ NAPs ที่ไม่มีประสิทธิภาพ


               2. การทำ NAPs ปัจจุบันยังขาดการให้ความสำคัญกับสิทธิรองอื่น ๆ (นอกเหนือจากสิทธิหลักประกอบด้วย
               แรงงาน สิ่งแวดล้อม นักปกป้องสิทธิ และการลงทุน) ในแง่นี้ เป็นเหตุสำคัญให้เกิดการละเลยความต้องการ

               และสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประชากรหลายกลุ่ม ทั้งที่โดยหลักการแล้ว การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนควรเป็นการ

               ทำเพื่อรับใช้ประชากรทุก ๆ ฝ่าย ไม่มีการเลือกปฏิบัติ


               3. ในความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ หากรัฐเลือกที่จะรับหลักการ UNGP มาทำแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีการ

               ผลักดันให้เกิดการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จ แม้หลักการจะไม่ใช่ข้อกฎหมายก็ตาม ข้อจำกัดหรือศักยภาพ

               ของรัฐ ธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจไม่ใช่ข้ออ้างของการงดเว้นที่จะไม่ทำ




                                                           146
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211