Page 199 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 199
2. ภาคธุรกิจ (2 องค์กร)
ผู้ให้สัมภาษณ์ ภาคธุรกิจ ท่านที่ 1 (หมายเหตุ ผู้ให้สัมภาษณ์สามารถเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมได้ด้วย
บทบาทของตัวผู้ให้สัมภาษณ์เอง)
1. หลักการ UNGP เองนอกจากจะไม่ใช่ข้อบังคับทางกฎหมายแล้ว ตัวหลักการเองยังไม่มีความชัดเจนในการ
เรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น การเรียกร้องให้ภาคธุรกิจมีความ “เคารพ” (respect) ในสิทธิ
มนุษยชนนั้นมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร ผู้ให้สัมภาษณ์ตั้งข้อสังเกตว่า หากภาคธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายทุก
ประการแล้วจะถือได้ว่าเป็นการเคารพหรือไม่ นอกจากนี้ หลักการ UNGP ด้านหนึ่งยังไม่ได้รับการปรับแต่งให้
มีความเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจประเภทต่าง ๆ โดยผู้ให้สัมภาษณ์ยกตัวอย่าง หากทำธุรกิจอู่รถยนต์ ธุรกิจนี้
จำเป็นจะต้องทำพื้นที่สำหรับเลี้ยงเด็กหรือไม่? ขณะเดียวกัน การดำเนินการตามหลักการ เช่น การทำ HRDD
หากธุรกิจไม่มีศักยภาพเพียงพอ จะมีการสนับสนุนช่วยเหลือการทำหรือไม่? สิ่งเหล่านี้ในความเห็นของผู้ให้
สัมภาษณ์ยังคงเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ ในแง่นี้ ผู้ให้สัมภาษณ์เสนอว่า
การนำหลักการ UNGP มาใช้ จะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงด้วย
2. ในฐานะของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า การส่งเสริมการทำธุรกิจอย่าง
ยั่งยืนตามหลักการ SDGs ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักขององค์กรที่จะส่งเสริมให้เกิดการทำ
ธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน ทางองค์กรได้มีการให้ทำ HRDD และมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัครงาน
ของแรงงานต่างด้าวแล้ว รวมถึงการเปิดช่องทางร้องเรียนปัญหาแรงงานภายในองค์กรเอง ซึ่งเป็นการ
ดำเนินการที่มีความโปร่งใส โดยอาศัยการจัดจ้างองค์กรอิสระเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการ
3. การสนับสนุนให้การประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชนมีความประสบความสำเร็จ ด้านหนึ่งขึ้นอยู่กับบทบาท
และการตระหนักในสิทธิมนุษยชนโดยตัวผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคมีอำนาจในการให้การสนับสนุนธุรกิจผ่าน
การบริโภค ดังนั้น การที่ผู้บริโภคเลือกที่จะไม่สนับสนุนธุรกิจที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ถือเป็นกลไกการ
คุ้มครองสิทธิที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง
ผู้ให้สัมภาษณ์ ภาคธุรกิจ ท่านที่ 2
1. กฎหมายและระเบียบในการจ้างงาน เวลาทำงาน และรูปแบบของการทำงานมีข้อจำกัดคือ การใช้มาตรฐาน
เดียวเป็นมาตรฐานหลักในการกำกับ ในขณะที่รูปแบบของการทำงานในแต่ละอาชีพมีความแตกต่าง
หลากหลาย ซึ่งไม่ตรงตามมาตรฐานดังกล่าวเสมอไป เป็นผลให้การประกอบอาชีพบางประเภทประสบปัญหา
ละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รูปแบบของงานประเภทนั้น ๆ ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานหลัก
139