Page 195 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 195

ผู้ให้สัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ 6


               1. การกำกับมลพิษในโรงงานปัจจุบันมีเกณฑ์กำกับการดำเนินงานตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม โรงงานทุก

               ประเภทจะมีการปล่อยของเสียหรือสารพิษออกมา ในแง่นี้ การกำกับดังกล่าวจึงเป็นการกำกับให้การปล่อย
               ของเสียหรือสารพิษมีมาตรฐานที่ไม่สูงจนเป็นอันตราย ทั้งนี้ หากกล่าวถึงมาตรการในการช่วยเหลือคุณภาพ

               ชีวิตในการทำงาน จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้สมเหตุผล เช่น การจัดการปัญหากลิ่น เป็นต้น





               ผู้ให้สัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ 7


               1. การจัดทำแผน NAPs มีความคืบหน้า และน่าจะประกาศใช้ได้โดยเร็ว (ณ เวลาให้สัมภาษณ์) โดยแผน NAPs

               เบื้องต้นจะครอบคลุมไประหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง 2565


               2. ในการจัดทำแผน NAPs สิทธิแรงงานเป็นส่วนที่ราบรื่นที่สุด เพราะมีภาคประชาสังคม และองค์กรที่
               เกี่ยวข้องเข้ามาทำงานด้วยเยอะ อย่างไรก็ดี การที่ภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะขึ้น ก็ทำให้ข้อมูลมีความ

               กระจัดกระจายสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนประเด็นการลงทุนเป็นส่วนที่ดำเนินการยากที่สุด เพราะไม่มีองค์กรหรือ

               หน่วยงานที่จะรับผิดชอบหรือดำเนินการโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศ

               สำหรับส่วนรัฐวิสาหกิจ พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องสิทธิชุมชนและสภาพแวดล้อม


               3. ในการจัดทำแผน NAPs มีการเสนอปัญหาอย่างการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหานี้เป็น
               ปัญหาที่ซับซ้อน ส่งผลให้ยังไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ


               4. NAPs จะเน้นการทำงานของเสาที่ 1 คุ้มครอง และเสาที่ 3 เยียวยาเป็นหลัก โดยเสาที่ 2 เคารพจะเป็นการ

               ตั้งความคาดหวังไว้ ทั้งนี้ สิ่งที่ท้าทายของการดำเนินการจะอยู่ที่ภาคธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ที่มักจะไม่

               ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนอย่างที่ควรจะเป็น





               ผู้ให้สัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ 8

               1. ปัญหาที่มีความถี่สูงในความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์คือ การไม่จ่ายค่าจ้างและการชดเชยการเลิกจ้าง ในส่วน

               ของสิทธิแรงงานชาวไทย ทั้งนี้ มองในมุมหนึ่ง ในอนาคตการร้องเรียนปัญหาแรงงานจะเพิ่มสูงมากขึ้น

               เนื่องจากแรงงานตรหนักสิทธิมากขึ้น พฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนไปทำให้เกิดการเปลี่ยนงานบ่อยขึ้น และการ

               ถูกทดแทนโดยเทคโนโลยี


               2. ปัญหาที่มีความถี่สูงในความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์คือ สิทธิประโยชน์แรงงาน และค่าจ้างขั้นต่ำ ในส่วนของ

               สิทธิแรงงานต่างด้าว โดยผู้ให้สัมภาษณ์มองว่า แรงงานต่างด้าวมีความยากลำบากในการติดตามตัว เนื่องจากมี


                                                           135
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200