Page 194 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 194

2. องค์กรมีอำนาจในการไกล่เกลี่ย โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยขึ้นในระดับท้องถิ่น (โดยกรรมการ

               จะเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในพื้นที่เพื่อให้สามารถไกล่เกลี่ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น กำนัน) ส่วนเรื่องที่

               คณะกรรมการส่วนนี้ทำการไกล่เกลี่ยก็มักจะเป็นเรื่องที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่างในชุมชน

               3. ในด้านกลไกการติดตาม เนื่องจากองค์กรเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการกับหน่วยงานภาครัฐ อำนาจในการ

               ติดตามเรื่องจะอิงกับกระทรวงมหาดไทยที่จะมอบหมายให้หน่วยงานนั้น ๆ ดำเนินการแก้ไข ในส่วนของ

               ภาคเอกชน องค์กรสามารถทำได้เพียงส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและเสนอให้มีการปรับปรุง


               4. ในความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ ปัญหาที่มีความถี่สูงประกอบด้วย 1) ข้อพิพาทที่ดิน (รัฐกับประชาชน) 2)

               ปัญหาจากโครงการพัฒนาของรัฐ 3) การชดเชยการเวนคืน ในส่วนของการร้องเรียนรัฐวิสาหกิจนั้น ผู้ให้

               สัมภาษณ์เห็นว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มาก




               ผู้ให้สัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ 4


               1. การคุ้มครองสิทธิผู้ถือหุ้นปัจจุบันคุ้มครองเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมี Dow Jones

               Sustainability Indices เป็นระเบียบมาตรฐานในการกำกับดูแล ในแง่นี้ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาด

               หลักทรัพย์แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากทางองค์กรมีมาตรฐานในการตรวจสอบและจัดการ อย่างไรก็ดี หาก

               พิจารณาถึงจำนวนบริษัทที่อยู่ในระบบและอยู่นอกระบบ จะพบว่าจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในระบบมี
               จำนวนน้อยกว่ามาก เป็นเหตุให้มีการละเมิดเกิดขึ้นและอาจกล่าวได้ว่า อยู่นอกอำนาจในการตรวจสอบและ

               จัดการ ในแง่นี้ ปัญหาการถูกละเมิดจึงมักเกิดขึ้นในส่วนของ private sector มากกว่า public sector


               2. ประเด็นปัญหาใหญ่ของการถือหุ้น คือปัญหาเรื่องข้อมูล กล่าวคือนักลงทุนมักไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิของ

               ตน โดยการตรวจสอบข้อมูลซึ่งระเบียบบังคับให้ต้องเปิดเผย นำไปสู่ปัญหาการถูกละเมิด และยังมีปัญหาการ

               ไหลเวียนของข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (การปั่นหุ้น)




               ผู้ให้สัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ 5


               1. ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมโรงงานจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่มีไว้อยู่แล้ว และ

               ด้วยเหตุที่รัฐเป็นผู้ให้ความคุ้มครองต่อประชาชน หลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงมีมาตรฐานในการจัดระเบียบ รวมถึงมี

               ระบบตรวจสอบที่เป็นรูปธรรมประกอบไว้


               2. อย่างไรตาม มาตรการและเกณฑ์มาตรฐานอาจไม่สามารถคุ้มครองป้องกันถึง “อุบัติเหตุ” ได้โดยสมบูรณ์
               ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์ พบว่าปัญหาที่มักเกิดขึ้นในโรงงานได้แก่ 1) ปัญหาอัคคีภัย 2) ปัญหา

               สารเคมี 3) ปัญหาระเบิด

                                                           134
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199