Page 196 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 196

การเปลี่ยนชื่อบ่อย และในพื้นที่บริเวณชายแดนเมียนมามีการข้ามพรมแดนกลับไปกลับมาโดยง่าย ทั้งนี้ ผู้ให้

               สัมภาษณ์ให้ความเห็นอีกว่า smart visa เป็นกลไกที่มีปัญหาให้เกิดการค้ามนุษย์เกิดขึ้นได้ เพราะตัว smart

               visa เปิดช่องให้พาผู้ติดตามเข้าประเทศมาด้วย

               3. แรงงานต่างด้าวที่เข้าประเทศอย่างถูกกฎหมายได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามที่พึงมีทุกประการ

               อย่างไรก็ตาม อุปสรรคของการชดเชยเยียวยาคือปัญหาระยะเวลากระบวนการยุติธรรมที่ไม่สามารถปิดคดีได้

               ก่อนที่ระยะเวลาการอยู่ในประเทศของแรงงานจะหมดอายุ


               4. กลไกสำคัญของการตรวจสอบผู้ว่าจ้างถึงการละเมิดสิทธิแรงงานคือ พนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งในปัจจุบันมี

               เพียง 700 กว่าคนโดยประมาณ โดยในจำนวนทั้งหมดนี้ มีเพียง 478 คน (โดยประมาณ) เท่านั้นที่มีคุณสมบัติ

               ในการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ


               5. กลไกการเยียวยาแรงงานสำคัญกลไกหนึ่งคือ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หากแต่ปัจจุบันกองทุนประสบ
               ปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากไม่สามารถเรียกเงินชดเชยกลับจากผู้ว่าจ้างที่กระทำการละเมิดได้ อันเป็นผลจาก

               กระบวนการบังคับคดี





               ผู้ให้สัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ 9


               1. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย (ในระบบ) จะเข้ามาผ่านการทำ MOU ซึ่งทางผู้ว่าจ้าง
               (บริษัทที่จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน) จะต้องดำเนินการตามระบบร่วมกับกรมการจัดหางานของประเทศ

               นั้น ๆ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยทำ MOU ส่วนนี้ร่วมกับประเทศเมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม โดย

               แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้จะมีการกำกับประเภทงานเอาไว้เพื่อมิให้เกิดการแย่งงานกับคนไทย โดยทั่วไปแรงงาน

               ต่างด้าวจะมีใบอนุญาตทำงานที่ 2 ปี และแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาจะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการ

               ทำงานของคนต่างด้าว ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวจะมีสังกัดของการจ้างที่ชัดเจน หากถูกให้ออกจากงานจะถูกส่งตัว

               กลับประเทศ แต่จะมีเงื่อนไขบางประการ หากสามารถตกลงหานายจ้างใหม่ได้ตามที่ระบบกำกับ

               2. การละเมิดแรงงานต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอย่างถูกต้องตาม MOU เกิดขึ้นไม่มาก เนื่องจากบริษัทจัดหางานที่

               ลงทะเบียนจะถูกตรวจสอบอยู่แล้ว หากเกิดการผิดเงื่อนไขจะมีการตักเตือนให้มีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผู้ให้

               สัมภาษณ์เล่าว่า มักถูกตักเตือนปีหนึ่งไม่ถึง 10 บริษัท


               3. ในแง่นี้ ในส่วนของแรงงานต่างด้าวส่วนที่เป็นปัญหาจึงเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ซึ่ง

               ไม่ได้รับการคุ้มครองและตรวจสอบตามระบบ เนื่องด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ






                                                           136
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201