Page 144 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 144

นอกเหนือจากเรื่องร้องเรียนแล้ว กสม. ได้ติดตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย

               วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีหลักการเพื่อ
               แก้ไขหลักเกณฑ์การปล่อยตัวชั่วคราวและการใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีหรือการดำเนินกระบวนการพิจารณา

               ในคดีอาญา ซึ่งมาตรา 8 แห่งร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีข้อความว่า “ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 161/1 แห่ง

                                                 60
               ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                                                                                                        61
                       ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165/2 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
               ได้มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงสิทธิของจำเลยในการยื่นและพิสูจน์
               พยานหลักฐานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมในขั้นการไต่สวนมูลฟ้องอัน




               %E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99

               %E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1
               %E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%
               E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E

               0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0
               %B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3.aspx
               60  มาตรา 161/1 ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือน
               ข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ศาลจะมีคำสั่งไม่

               ประทับฟ้องคดีนั้นก็ได้ และห้ามโจทก์ยื่นฟ้องคดีนั้นอีก คำสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
                       อย่างไรก็ตาม มาตรา 161/1 มีประเด็นที่ควรตระหนักคือ มาตรา 161/1 มิได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนต่อคำว่า “ไม่
               สุจริต” และมิได้สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มุ่งหมายจะปกป้องคุ้มครองการใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่ง

               ได้รับการคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศของประเทศไทยโดย
               ชัดแจ้ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะกำหนดขอบเขตคำนิยามของคำว่า “ไม่สุจริต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้ครอบคลุมถึง
               การห้ามมิให้มีการดำเนินคดีเพื่อคุกคามหรือข่มขู่บุคคลหรือองค์กรซึ่งใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
                       ประการต่อมา คดี SLAPP นั้นมิได้จำกัดแต่เพียงคดีอาญาซึ่งราษฎรเป็นโจทก์เท่านั้น (คดีที่ผู้ร้องทุกข์เป็นผู้เสียหายที่

               เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) แต่สามารถเกิดกับคดีแพ่งหรือคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้ โดยมาตรา 161/1
               สามารถนำมาปรับใช้ได้กับแค่คดีที่บุคคลทั่วไปเป็นผู้ร้องทุกข์ในคดีอาญาเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีที่ฟ้องร้องโดยพนักงานอัยการ
               กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มาตรา 161/1 นั้นไม่เพียงพอที่จะยุติคดี SLAPP ได้ เนื่องจากคดีเหล่านี้เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา

               ซึ่งฟ้องร้องโดยพนักงานอัยการ
               61  มาตรา 165/2 บัญญัติว่า “ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือ ข้อกฎหมายอันสำคัญที่
               ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลย
               ด้วยก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่

               จำเป็นและสมควร โดยโจทก์และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล”
                       อย่างไรก็ตาม มาตรา 165/2 ถูกนำไปใช้แต่เฉพาะในคดีอาญาซึ่งยื่นฟ้องโดยผู้เสียหายที่เป็นราษฎร และไม่ใช้กับคดี
               แพ่ง อีกทั้งจะถูกใช้ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์แต่เฉพาะเมื่อศาลพิจารณาเห็นสมควร ดังนั้น จะเห็นว่ามาตรา

               165/2 จะถูกนำไปใช้โดยเคร่งครัดในการไต่สวนมูลฟ้องคดีที่ยื่นฟ้องโดยผู้เสียหายที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรเอกชน
               เท่ านั้ น  ห ากเป็ น ก รณี ที่ ยื่น ฟ้ องโด ยพ นั กงาน อัยก ารจ ะ ไม่ ต้ องมี การไต่ ส วน มู ลฟ้ องแต่ อย่างใด ,
               http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/020/T_0001.PDF
                                                            84
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149