Page 142 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 142

3.3.7 การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ

                       การลงทุนข้ามชาติเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ การลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย และการ
               ลงทุนของไทยที่ไปลงทุนที่ต่างประเทศ


                       ในส่วนที่ 1 นั้น จะมีประเด็นที่ทุนต่างชาติเข้ามาดำเนินการโครงการและเกิดข้อพิพาทกับชุมชนในบาง
               พื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง EEC และ SEZ หากแต่ว่า เป็นข้อพิพาทตามกฎหมายอื่นที่

               เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการลงทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในส่วนของ

               การลงทุนดังกล่าวจะมีกลไกเยียวยาส่วนที่เป็นองค์กรศาล และองค์กรตรวจสอบอื่น ๆ ของรัฐ ตลอดจนองค์กร
               พัฒนาเอกชนอย่างส่วนภาคประชาสังคม ที่ทำหน้าที่ติดตามและแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมายอื่นที่ถูกละเมิดได้

               อย่างมีประสิทธิภาพ

                       สำหรับส่วนที่ 2 การลงทุนของไทยที่ไปลงทุนที่ต่างประเทศ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า กรณีของ

               การลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนของบริษัทที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งอยู่

               ภายใต้มาตรการการคุ้มครองด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในระดับของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีมาตรฐานที่สูง
               กว่ามาตรฐานของไทยในปัจจุบัน ทำให้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย

               ในช่วงที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีปัญหาแต่อย่างใด ข้อมูลเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จากการ
               จัดประชุมกลุ่มย่อยระบุว่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลในเรื่องของการ

               ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่หากบริษัทที่เข้ามาลงทุนในไทยและเข้ามาขอสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีขององค์กรมี

               การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็จะต้องถูกยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ ยังไม่เคยพบว่ามีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น
               ในช่วงที่ผ่านมา


                       ในทางตรงกันข้าม การลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศกลับเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               การลงทุนของธุรกิจไทยในประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ล้าหลังกว่าไทย ซึ่งประเทศดังกล่าวก็มักจะไม่มี

               มาตรฐานการคุ้มครองและเยียวยาทางด้านสิทธิมนุษยชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้
               องค์กรภาครัฐของไทยโดยมากยังคงต้องทำงานภายใต้กรอบอาณาเขตดินแดนของไทย นั่นคือ ไม่สามารถที่จะ

               เข้าไปดูแลปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจในต่างแดนได้โดยตรง ส่งผลให้ธุรกิจไทยทั้ง

               เอกชนและรัฐวิสาหกิจจะสามารถที่จะเข้าไปลงทุนโดยพิจารณาเพียงแค่การทำตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
               รวมถึงอาจจะอาศัยช่องโหว่ของความอ่อนแอในกระบวนการเยียวยาของประเทศดังกล่าว เพื่อให้เกิด

               ผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจก็เป็นได้

                       รายงานรายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               และผลกระทบต่อชุมชน จัดทำโดย คณะทำงานติดตามการลงทุนข้ามพรมแดน (Extra-Territorial

               Obligations: ETOs Watch) ได้เสร็จสิ้นลงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 โดยมีกรณีศึกษาในประเทศต่าง ๆ
               อันประกอบ ไปด้วย ประเทศกัมพูชา, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม (หรือเรียกอีกชื่อว่า CLMV) จำนวนทั้งสิ้น

               12 กรณีศึกษา ซึ่ง 12 โครงการที่นำมาใช้ในการศึกษานี้ มีทั้งที่ได้ผ่านการพิจารณา ตรวจสอบ และอยู่ใน





                                                            82
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147