Page 147 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 147
บทที่ 4
กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
ของภาครัฐที่ควรจะเป็น และการวิเคราะห์ช่องว่างในการดำเนินการ
ในบทนี้ จะเป็นการทำการประเมินผลและวิเคราะห์ข้อค้นพบจากสถานการณ์และผลกระทบด้านสิทธิ
มนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการค้าการลงทุน ผ่านการปรึกษาหารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวแทน กสม. ตัวแทนภาคธุรกิจ ตัวแทนภาคประชาสังคม และนักกฎหมายด้าน
ธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อทำการเปรียบเทียบกับกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบ
ธุรกิจที่เกิดขึ้นและประสบผลสำเร็จในต่างประเทศ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจว่า กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิ
มนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็นนั้นต้องเป็นเช่นไร
4.1 กรอบการวิเคราะห์ และผลการวิเคราะห์ช่องว่างในการดำเนินการ
4.1.1 กรอบการวิเคราะห์
การพิจารณาประเด็นปัญหาในมิติของกฎระเบียบ กฎหมายในประเด็นของธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ไม่
สามารถที่จะดำเนินการโดยใช้วิธีการทางตรงได้ เนื่องจาก ประเทศไทยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
และพระราชกำหนดรวมทั้งสิ้น 882 ฉบับ และหากพิจารณารวมไปถึง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศใน
64
ทุกลำดับขั้น จะทำให้มีเอกสารที่ต้องพิจารณารวมกันมากกว่า 100,000 ฉบับ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย, 2560ข)
จากเหตุผลข้างต้น ภายใต้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยที่จำกัด คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการ
วิจัยให้มีการคัดเลือกประเด็นปัญหาที่สำคัญออกมาพิจารณา โดยมุ่งหวังว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวจะเป็น
จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ควรจะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรกในการประเมินความก้าวหน้าของการทำงานของ
ภาครัฐในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
กรอบในการคัดเลือกปัญหา จะเลือกดึงปัญหาที่มีความสำคัญผ่านความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจาก
การจัดประชุมระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย (ดังที่สรุปในหัวข้อที่ 3.4 และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก) และจาก
สถิติการร้องเรียนในอันดับต้น ๆ ในมิติที่สำคัญไม่น้อยกว่า 1 มิติ ได้แก่
1. มิติปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย เป็นปัญหาการละเมิดที่เกิดขึ้นจำนวนมากในแต่ละปี
2. มิติปัญหาที่มีขนาดใหญ่ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสูญเสียในระดับที่สูง
3. มิติปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นปัญหาที่คาดว่าจะเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต
64 สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, http://www.krisdika.go.th
87