Page 145 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 145

จะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหลือศาลในการพิจารณาว่าคดีหนึ่ง ๆ นั้นไม่มีมูล นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายวิธี

               พิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 ก็ได้ถูกตราขึ้นและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม
                         62
               พ.ศ. 2562  เพื่อป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Anti-
               Strategic Litigation Against Public Participation: Anti-SLAPP) นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย

               ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ถูกตราขึ้นและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
               โดยที่ปัจจุบันข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญา เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเห็นควรให้นำกระบวนการไกล่เกลี่ย

               ข้อพิพาททางแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่มากนักและข้อพิพาททางอาญาบางประเภทมากำหนดเป็นกฎหมายกลาง
               เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน หรือศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการยุติหรือระงับ

               ข้อพิพาทดังกล่าว โดยคำนึงถึงความยินยอมของคู่กรณีเป็นสำคัญ ทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ลด

               ปัญหาความขัดแย้ง เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกัน
               อย่างปกติสุข ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อดำเนินการให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกัน ระงับข้อ

               พิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ย
               ข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาลและในชั้นการบังคับคดี จากการปรับแก้ และออกกฎหมายข้างต้น นับว่า

               มาตรการคุ้มครองและการเยียวยาผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนมีประสิทธิภาพและทำให้ช่องว่างการถูกละเมิดคน

               กลุ่มนี้เป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น



                       3.3.9 ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในกรณีของรัฐวิสาหกิจ

                       ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 กสม. ได้รับการร้องเรียนเรื่องเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจหลายกรณี ทั้งเรื่องแรงงาน ที่อยู่

               อาศัย และเรื่องทรัพยากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง (ผู้จัดการออนไลน์, 5 เมษายน 2561) ซึ่ง
               ทาง กสม. ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ตลอดจนการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ

               ภายหลังที่ได้มีการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏรายละเอียดข้อมูลในส่วนนี้ว่ามีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง

               กับรัฐวิสาหกิจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อวิเคราะห์หาปัญหา
               สำคัญที่เกิดขึ้นจากรัฐวิสาหกิจได้


                       ที่ผ่านมา กสม. ได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับ
               รัฐวิสาหกิจ” ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (ITD) และสถาบัน




               62
               โดยมาตรา 161/1 บัญญัติว่า “ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาว่าโจทก์

               ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลย หรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่า
               ประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก
               การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งหรือ คำพิพากษาของศาลในคดีอาญา

               อื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย,”
               http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/034/T_0018.PDF?fbclid=IwAR3-
               7CdpUFTPj9QkoHHaIMR8JlIb40xD5UOY1VVD1QUz11t5R2GY825WxDs
                                                            85
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150