Page 143 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 143
ระหว่างการตรวจสอบ โดย กสม. และกรณีศึกษาที่ไม่ได้เสนอให้ กสม. ตรวจสอบรวม ทั้งหมด 12 กรณี ซึ่ง
สรุปได้ 4 กลุ่มดังนี้ (คณะทำงานติดตามการลงทุนข้ามพรมแดน, 2561)
กลุ่มที่ 1 โครงการที่มีการร้องเรียนต่อ กสม. และทาง กสม. ได้ส่งรายงานการตรวจสอบให้
คณะรัฐมนตรีแล้ว และคณะรัฐมนตรี(หรือ นายกรัฐมนตรี) มีมติหรือคำสั่งต่อเนื่องไปยังหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่
โครงการไฟฟ้า พลังน้ำเขื่อนฮัตจี, โครงการปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน้ำตาลโอดอร์เมียนเจย, โครงการ ท่าเรือ
น้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
กลุ่มที่ 2 โครงการที่มีการร้องเรียนต่อ กสม. และ กสม. ได้ส่งรายงานการตรวจสอบให้คณะรัฐมนตรี
แล้ว ได้แก่ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี, โครงการโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์, โครงการปลูกอ้อยและจัดตั้ง
โรงงานน้ำตาล เกาะกง
กลุ่มที่ 3 โครงการที่มีการร้องเรียนต่อ กสม. และอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ได้แก่ โครงการไฟฟ้าพลัง
น้ำเขื่อนปากแบ่ง, โครงการ เหมืองแร่ดีบุกเฮงดา, โครงการเหมืองแร่ถ่านหินบานชอง (Ban Chaung)
กลุ่มที่ 4 โครงการที่ไม่ได้มีการร้องเรียนต่อ กสม. ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเย, โครงการ
โรงงานปูนซีเมนต์และโรงไฟฟ้าถ่านหิน, โครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินกวางจิ 1
ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้ได้ข้อค้นพบสำคัญ คือ สถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการลงทุนโดยตรง
ในประเทศเพื่อนบ้านนั้น เกิดจากปัจจัยสำคัญ อาทิ ช่องว่างการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม ช่องว่างของ
กฎหมายตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่องว่างของกฎหมาย กสม. การเปิดเผยข้อมูลและกระบวนการรับ
ฟังความเห็นที่ไม่สมบูรณ์ ความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ที่ให้เงินกู้แก่โครงการต่าง ๆ เป็นต้น
3.3.8 ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
จากข้อมูลการร้องเรียนต่อ กสม. ระหว่างปี พ.ศ. 2557 - 2560 และรายงานผลการประเมิน
สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 ของ กสม. พบว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนใน
ประเทศไทยประสบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น หายตัวไป ถูก
ลอบสังหาร ถูกข่มขู่คุกคามจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อระงับการมีส่วนร่วม
ของสาธารณชน (Strategic Litigation Against Public Participation : SLAPP) โดยการดำเนินคดีแพ่งหรือ
คดีอาญาเพื่อยับยั้งหรือข่มขู่การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ
อันเป็นการกดดันให้บุคคลที่ถูกดำเนินคดีจำต้องระงับการแสดงความคิดเห็น ยอมความ และยุติการตรวจสอบ
ประเด็นสาธารณะ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายัง กสม. แต่ก็ไม่สามารถระบุจำนวนที่แท้จริงได้ว่าเป็น
59
เรื่องที่เกี่ยวกับผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนทั้งสิ้นกี่เรื่อง
59 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู กสม. หนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสำนักงานศาลยุติธรรมแก้ไข ป.วิอาญา ป้องกันการ
ฟ้องร้องดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน, http://www.nhrc.or.th/NHRCT-
Work/Statements-Press-Releases-Open-Letters/Press-Releases/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1-
83