Page 148 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 148

4. มิติปัญหาที่แก้ไขโดยง่าย เป็นปัญหาที่สามารถจะแก้ไขได้อย่างรวดเร็วหากมีการดำเนินการที่ถูกวิธี


                       5. มิติปัญหาพื้นฐาน เป็นปัญหาที่เป็นต้นตอของปัญหาอื่น ๆ ทั้งปวง และควรจะได้รับการแก้ไขเป็น

               อันดับต้น ๆ




                       4.1.2 การวิเคราะห์ช่องว่างประเด็นปัญหา ผ่านกระบวนการจัดประชุมกลุ่มย่อย
                                                                                          65

                       คณะผู้วิจัยได้มีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น โดยเป้าประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ถึง

               ช่องว่างและสภาพปัญหาปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ โดยมุ่งเน้นที่
               ปัญหาที่มีความสำคัญตามกรอบที่นำเสนอไว้ในหัวข้อ 4.1.1 ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ความสำคัญที่กำหนดเอาไว้

               เบื้องต้น ได้แก่ 1. ปัญหาที่มีความถี่มาก (เกิดขึ้นบ่อยครั้ง) 2. ปัญหาที่มีขนาดใหญ่ (ส่งผลกระทบรุนแรงในแง่

               ของมูลค่า) 3. ปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต (ปัญหาที่สำคัญในอนาคต) 4. ปัญหาที่แก้ไขโดยง่าย
               (ความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว) 5. ปัญหาระดับพื้นฐาน (รากฐานของปัญหาการละเมิดอื่น ๆ) โดยปัญหาที่

               จะนำมาพิจารณาจะต้องผ่านเกณฑ์เพื่อคัดกรองความสำคัญข้างต้นไม่น้อยกว่า 1 เกณฑ์

                       ผลการปรึกษาหารือ ได้ข้อสรุปในเรื่องของประเด็นปัญหา (ตารางที่ 3-7) ดังนี้


                       1.   สิทธิของผู้ถือหุ้น ยังไม่พบว่าผู้ให้ข้อมูลระบุถึงปัญหาในสิทธินี้

                       2.   สิทธิแรงงาน/แรงงานต่างด้าว พบว่ามีปัญหาที่สำคัญรวม 10 ปัญหา ได้แก่ 1) แรงงานในธุรกิจ

               ขนาดกลางและเล็กถูกเอาเปรียบ 2) การเลือกปฏิบัติต่อแรงงาน เช่น ปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้มีเชื้อ HIV 3)
               แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีวีซ่า ไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสวัสดิการสังคม 4) แรงงานประเภท Border

               employment ไม่ได้รับสิทธิทางด้านสวัสดิการ 5) แรงงานต่างด้าวมีค่าใช้จ่ายในการเข้ามาทำงานสูง และถูก

               บังคับให้เป็นแรงงานทาสชดใช้หนี้ในการเข้ามาทำงานในไทย 6) แรงงานต่างด้าวถูกจำกัดสิทธิในการวมกลุ่ม
               7) สิทธิที่แรงงานต่างด้าวได้รับไม่เท่าเทียมกับแรงงานไทย เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ วันลา วันหยุด ชุดยูนิฟอร์ม 8)

               สวัสดิการของแรงงานนอกระบบ (กลุ่มเหมาจ่าย ทำงานพาร์ทไทม์ แรงงานเกษตร คนรับใช้ในบ้าน ประมง) 9)
               การเปิดเผยประวัติอาชญากรที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของแต่ละบุคคล และ 10) ตามกฎหมาย หากนายหน้า

               ละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าว จะเอาผิดได้แค่นายหน้าที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งในประเทศไทยเท่านั้น เช่น หาก

               นายหน้าที่นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเป็นบุคคลธรรมดาละเมิดสิทธิแรงงาน จะไม่สามารถเอาผิดนายหน้าผู้นั้น
               ได้

                       3.   สิทธิของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน พบว่ามีปัญหาที่สำคัญ คือ การลงทุนในไทย มีปัญหาการใช้

               วัตถุดิบขั้นกลาง หรือมีการส่งต่อวัตถุดิบขั้นกลางไปยังธุรกิจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน









               65    รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู ภาคผนวก ก, ค และ ง
                                                            88
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153