Page 149 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 149
4. สิทธิในชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม พบปัญหาได้แก่ ปัญหาการทับซ้อนของสิทธิทางที่ดิน การ
แย่งชิงทรัพยากรที่ดินของผู้ที่มีอยู่เดิมกับธุรกิจที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ กระบวนการ EIA และปัญหาค่าปรับไม่มี
ส่วนสร้างแรงจูงใจให้ยกเลิกพฤติกรรมการละเมิด
5. สิทธิที่เกี่ยวกับการลงทุนข้ามชาติ มีมิติที่เป็นช่องว่างคือ การละเมิดสิทธินอกอาณาเขตไทย
6. สิทธิผู้บริโภค พบปัญหา 4 ด้าน คือ การถูกเลือกปฏิบัติ ข้อตกลงในการใช้บริการ (terms of
service) ไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจ ปัญหาจากการซื้อ-ขายด้วยช่องทางออนไลน์ เช่น ได้รับสินค้าที่ไม่ได้
คุณภาพ, สร้างข่าวลวง (fake news), กรณีผู้ขายอยู่ต่างประเทศ และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้
ให้บริการ
7. สำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ พบประเด็นปัญหา คือ แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์ในเด็ก
8. กลุ่มผู้แจ้งเบาะแส/ผู้พิทักษ์สิทธิ พบปัญหาการฟ้องปิดปากเป็นปัญหาสำคัญ
9. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ พบปัญหาดังนี้ 1) ยังไม่รับรองว่าจะคุ้มครองสิทธิ 2) เลือกปฏิบัติกับผู้ติด
เชื้อ HIV 3) ไม่ได้ตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานในกำกับว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ และ 4) จ้างงานผู้
พิการไม่ครบตามสัดส่วน
นอกจากนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งมีทั้งที่ต้องอาศัยการ
ปรับแก้ในกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมาย และส่วนที่ต้องอาศัยแนวทางอื่น ๆ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ทำการสรุปแนบ
เอาไว้ในตารางที่ 4-1 สดมภ์ที่ 3
ตารางที่ 4-1: สรุปผลการหารือจากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมกลุ่มย่อย
สิทธิ ประเด็นปัญหา ข้อเสนอ
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น - -
2. สิทธิแรงงาน/แรงงาน แรงงานในธุรกิจขนาดกลาง - ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิแก่แรงงาน และสร้าง platform
ต่างด้าว และเล็กถูกเอาเปรียบ ออนไลน์ให้ภาคธุรกิจได้รับทราบถึงสิทธิที่ลูกจ้างพึงมี
- จัดโครงการอบรมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ภาค
ธุรกิจขนาดเล็กผ่านสถาบันการศึกษา และให้บริษัทใหญ่ทำ
CSR เพื่อยกระดับมาตรฐานห่วงโซ่การผลิตซึ่งบริษัทเล็กเป็น
ส่วนหนึ่งของระบบ เพื่อให้มีมาตรฐานการผลิตตามสิทธิ
มนุษยชน
การเลือกปฏิบัติต่อแรงงาน - ใช้กฎหมายกำกับไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
เช่น ปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้มี
เชื้อ HIV
แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีวีซ่า - สำนักงานประกันสังคมจะต้องร่วมมือกับรัฐบาลประเทศ
ไม่ได้รับการคุ้มครองด้วย เพื่อนบ้าน เพื่อจัดทำการโอนย้ายสิทธิประโยชน์ทางสังคม
สวัสดิการสังคม ให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย
แรงงานประเภท Border - ปรับเกณฑ์นิยามของ Border employment ให้
89