Page 139 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 139

3.3.5 สิทธิของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน

                       การร้องเรียนผ่านคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งพิจารณากรณีพิพาทระหว่างธุรกิจภายใต้
               การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม พบว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 มีเรื่องร้องเรียนจำนวนไม่มากนัก โดยมีเรื่อง

               ร้องเรียน 4 เรื่องในปี 2559 เรื่องร้องเรียน 2 เรื่องในปี 2560 และเรื่องร้องเรียน 11 เรื่องในปี 2561 โดยเรื่อง

               ร้องเรียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้าที่ไม่เป็นธรรม

               ตารางที่ 3-10: สถิติจำนวนเรื่องร้องเรียนผ่านคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าระหว่างปี พ.ศ. 2559-

               2561

                                           2559              2560             2561

               จำนวนเรื่องร้องเรียนผ่าน    4                 2                11
               คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า
               ประเภทของเรื่องร้องเรียน    การค้าไม่เป็นธรรม   เกษตรพันธสัญญา   การค้าไม่เป็นธรรม
                                                             การค้าไม่เป็นธรรม

               ที่มา: สถิติจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า



                       3.3.6 สิทธิประชากรกลุ่มเฉพาะ

                       กรณีของประชากรกลุ่มเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะถูกคุกคาม

               จากปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยตัวอย่าง
               ประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือ ผู้ติดเชื้อ HIV หรือแรงงานหญิง อาจถูกละเมิดสิทธิจาก

               การทำงานได้มากกว่าประชากรทั่วไป

                       สำหรับเรื่องของการละเมิดสิทธิแรงงานกลุ่มประชากรผู้หญิง สถิติการตรวจการใช้แรงงานหญิงทั่ว

                                                                                 57
               ราชอาณาจักร จำแนกตามอุตสาหกรรม และเรื่องที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง พ.ศ. 2559  พบว่า สถานประกอบการที่
               ผ่านการตรวจจำนวน 40,801 แห่ง มีจำนวนลูกจ้างหญิง 719,877 คน โดยมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่องของ

               การทำงานล่วงเวลาต่อลูกจ้างหญิง 3 คน จากสถานประกอบการ 1 แห่ง โดยไม่พบการปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่อง

               อื่น ๆ และไม่พบการปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อลูกจ้างหญิงมีครรภ์ อย่างไรก็ดี สถิติการตรวจการใช้แรงงานหญิงทั่ว
               ราชอาณาจักร จำแนกตามอุตสาหกรรม และเรื่องที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง พ.ศ. 2560  พบว่าสถานประกอบการที่
                                                                                 58
               ผ่านการตรวจจำนวน 41,847 แห่ง มีจำนวนลูกจ้างหญิง 689,596 คน มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่องของเวลา

               ทำงานของลูกจ้างหญิง 4 คน การทำงานล่วงเวลา 102 คน และมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่องของเวลาทำงาน
               ของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ เกี่ยวกับเวลาทำงาน 16 คน การทำงานในวันหยุด 16 คน


                       โดยในส่วนของกลุ่มเด็ก จากรายงานความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจ-แรงงานไตรมาส 4: ตุลาคม -
               ธันวาคม พ.ศ. 2560 การตรวจคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นเด็กในปี พ.ศ. 2560 จากสถานประกอบกิจการที่ผ่านการ



               57  สถิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2559 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
               58  สถิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
                                                            79
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144