Page 134 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 134
เมื่อพิจารณาธุรกิจที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ จะพบว่ากลไกการตรวจสอบของภาครัฐจะมีความ
เข้มงวดน้อยกว่าธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์มาก โดยกลไกที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ การตรวจสอบการส่งงบการเงิน
ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งหากธุรกิจใดที่ไม่ได้มีการส่งงบการเงินต่อเนื่องเกิน 3 ปี ถึงจะถูกขีดชื่อให้เป็น
บริษัทร้าง ซึ่งเป็นสัญญาเตือนว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ควรลงทุน
สถิติจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2561) พบว่า จำนวนธุรกิจที่ไม่ส่งงบต่อเนื่อง 3 ปี สิ้นสุดในปี 2561
มีจำนวนทั้งสิ้น 6,309 ราย สิ้นสุดในปี 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,106 ราย
นอกเหนือจากกลไกของภาครัฐในการตรวจสอบดูแล ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้ถือหุ้น สิ่งที่ผู้
ถือหุ้นจะทำได้คือ การใช้กระบวนการยุติธรรมเข้ามาช่วยเหลือผ่านทางการฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้อง
ค่าเสียหายเป็นหลัก
3.3.3 สิทธิแรงงาน
ในเรื่องของสิทธิแรงงาน ภาครัฐมีกฎหมายแรงงานที่กำหนดสิทธิของลูกจ้างที่พึงได้รับจากการทำงาน
ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น ชั่วโมงทำงาน เวลาพัก วันหยุดต่าง ๆ รวมไปถึงค่าจ้างขั้น
ต่ำ และค่าทำงานล่วงเวลา และการคุมครองแรงงานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดลอมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งสอง
ฉบับผ่านการตรวจแรงงานโดยพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งมีการตรวจ 4 ประเภท ได้แก่ ตรวจปกติ ตรวจตามคำ
ร้อง ตรวจพิเศษ และตรวจติดตามผล
รายงานสถิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 มีลูกจางมายื่นคํารอง 10,041 กรณี คิดเป็น
อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับปกอนหนา โดยมีลูกจางเกี่ยวของ 22,457 คน โดยคำร้องส่วนใหญ่สาม
อันดับแรกเป็นเรื่องค่าจ้าง 6,752 กรณี (ร้อยละ 67.2) ค่าชดเชย 2,291 กรณี (ร้อยละ 22.8) และค่าจ้างแทน
การบอกล่วงหน้า 1,873 กรณี (ร้อยละ 18.65) พนักงานตรวจแรงงานมีการวินิจฉัยว่ามีสิทธิได้รับเงิน 8,447
54
กรณี คิดรวมเป็นเงิน 565,966,972 บาท
นอกจากนี้ ตัวลูกจ้างเองมีหน้าที่ในการรักษาสิทธิของตนเอง การอนุญาตให้มีการตั้งสหภาพแรงงานก็
เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้มีกลุ่มตัวแทนที่ช่วยดูแลรักษาสิทธิแรงงานให้กับตัวลูกจ้างเอง ในกรณีที่เกิดการ
ละเมิดสิทธิแรงงาน กลไกสนับสนุนที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ก็คือ คณะกรรมการสมานฉันท์
แรงงานไทย (คสรท.) ซึ่งได้มีการดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยผลการดำเนินงานในรอบ 3
ปี (พ.ศ. 2558-2560) (ตารางที่ 3-6) พบว่ามีการดำเนินคดีความทางกฎหมายรวม 70 คดีความ โดยมีผู้ที่
เกี่ยวข้องรวม 647 คน
ปัญหาที่พบประกอบไปด้วย ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้าง การเลิกจ้างงานไม่เป็นธรรม การร้องขอ
พิจารณาคดีใหม่ การไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนและให้สวัสดิการตามสิทธิ (ค่าจ้าง วันลา เงินโบนัส เป็นต้น)
54 สถิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
74