Page 9 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 9

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               “อนาคตร่วมกัน” (Report of the World Commission on Environment and Development: Our

               Common Future) หรือที่มักเรียกกันว่า “รายงานบรุนท์แลนด์” (Bruntland Report) ซึ่งได้มีการก าหนด
               ค านิยามของค าว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) เอาไว้ว่า “การพัฒนาที่ตอบสนอง

                                                                                         3
               ความต้องการของคนในยุคปัจจุบันโดยไม่มีผลกระทบต่อความต้องการของคนในอนาคต”  ซึ่งต่อมา ค านิยาม
               ดังกล่าวได้แพร่หลายไปทั่วโลก

                       ในปี ค.ศ. 2002 จากการประชุม Rio+10 ณ กรุงโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ได้มีการก าหนด

               กรอบแนวทางการปฏิบัติตามแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ ต้องเป็นการสร้างความสมดุลระหว่าง
               การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการปกป้องสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่าโมเดลแบบ 3 เสาหลัก (Three Pillars

               Model) ซึ่งหากพิจารณาควบคู่ไปกับค านิยามของรายงานบรุนท์แลนด์จะหมายถึง การที่มนุษย์ในปัจจุบัน
               มีหน้าที่ต้องสร้างความสมดุลของสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพื่อรักษาไว้ให้แก่คนในอนาคต  ดังนั้น ตามค านิยามของ

               รายงานบรุนท์แลนด์จึงสร้าง “หน้าที่” ให้กับคนที่มีชีวิตในปัจจุบันเพื่อประกัน “สิทธิ” ให้แก่ผู้ที่ยังไม่เกิดมา
               (unborn generation) ในทางนิติศาสตร์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” จึงมีข้อความคิดว่าด้วยความยุติธรรม

               ระหว่างรุ่น (intergenerational justice) และความเท่าเทียม (equity) ทั้งของคนในยุคปัจจุบัน (present

               generation) กับอนาคตชน (future generation) ซึ่งนับว่าเป็นการขยายพรมแดนของข้อความคิดว่าด้วย
                                                                        4
               ความยุติธรรมที่มุ่งเน้นแต่เพียงที่จะคุ้มครองคนที่มีสภาพบุคคลเท่านั้น

                                        ภาพแสดงโมเดลการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบ 3 เสาหลัก





























                              ที่มา:  http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/04-03.html



               3   Our Common Future Report: “Development that meets the needs of present without compromising the ability
                  of future generations to meet their own needs”
               4   มาตรา 15 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อ
                  ตาย”



               1-2                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14