Page 12 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 12
บทที่ 1
บทน า
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษา รวบรวม และจ าแนกข้อมูลสถานการณ์ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ป่าของ
ประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทั่วไปของผลกระทบและสภาพปัญหาของบุคคล และ/หรือชุมชน
ที่อยู่ในเขตป่าที่ได้รับผลกระทบจากการด าเนินนโยบายของรัฐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่า ก่อนและ
หลังประกาศใช้นโยบายหรือกฎหมาย
1.2.2 เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างสภาพปัญหาของบุคคล กลุ่มบุคคลและ/หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
อันมีสาเหตุมาจากนโยบายและกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่าไม้ ในบริบทของพันธกรณี
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมถึงตราสารและมาตรฐานระหว่างประเทศ
ที่เกี่ยวข้อง
1.2.3 เพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์
ในที่ดินของบุคคล และ/หรือ ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ป่าอันเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากการด าเนินนโยบายและ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่าไม้ รวมถึงแนวทางในการส่งเสริม
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บนฐานของสิทธิมนุษยชนและเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง
1.3 ขอบเขตการด าเนินงาน
1.3.1 ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในบริบทของสิทธิมนุษยชน
เช่น กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ความเห็นทั่วไป (general comments) ข้อสังเกตโดยสรุป
(concluding observations) ของคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี (treaty bodies)
กฎหมายต่างประเทศ/ค าพิพากษาของศาล เป็นต้น ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน/ป่า และการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการน าไปใช้เป็นแนวทางการรับรอง
สิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดิน/ป่า และ/หรือ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานของสิทธิ
ในสิ่งแวดล้อม ตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ไทยเป็นภาคี รวมถึงมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
1.3.2 ศึกษาและจ าแนกข้อมูลสถานการณ์ในประเทศไทยของบุคคล กลุ่มบุคคล และ/หรือชุมชน
ที่ได้รับผลกระทบอันมีสาเหตุจากทั้งนโยบายของรัฐและกฎหมายภายในประเทศ และการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน/ป่า ก่อนและหลังประกาศนโยบาย และ/หรือ
กฎหมายจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ค าร้อง และ/หรือ รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ค าพิพากษาของศาลไทย เป็นต้น
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 1-5