Page 8 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 8
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของโครงการ
1.1.1 สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มนุษย์พึงจะมีตามธรรมชาติ (natural rights) ซึ่งรัฐจะต้องออกกฎหมาย
ในการรับรองสิทธินี้ให้แก่พลเมืองของตน (citizen rights) โดยสิทธิดังกล่าวได้ถูกรับรองเอาไว้ในกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political
Rights 1966: ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1996
(International Covenant on Economic, Social and Cultural rights 1996: ICESCR) ข้อ 1(1) ของกติกา
ระหว่างประเทศทั้งสองดังกล่าวบัญญัติเอาไว้เหมือนกันว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการปกครองและตัดสินใจด้วย
ตนเอง โดยตามสิทธิดังกล่าวมนุษย์ทุกคนมีสิทธิอย่างเสรีเกี่ยวกับมุมมองทางการเมืองและมีสิทธิอย่างเสรี
1
ในการด าเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม” สิทธิดังกล่าวเรียกกันว่า
“สิทธิในการก าหนดเจตจ านงของตนเอง” หรือ “สิทธิในการใช้อัตวินิจฉัย” (right to self - determination)
ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีในกติกาทั้งสองฉบับดังกล่าว
ความสนใจในเรื่องสิทธิของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
นับเป็นหนึ่งในสาขาที่ส าคัญของสิทธิมนุษยชน โดยเริ่มต้นจากในปี ค.ศ. 1972 ได้มีการประชุมสหประชาชาติ
ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งผลลัพธ์ของการประชุมในครั้งนั้น คือ
หลักการสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (Declaration of the United Nations Conference
on the Human Environment) หรือที่รู้จักกันในนาม “ปฏิญญาสตอกโฮล์ม” (Stockholm Declaration)
ซึ่งนอกจากวางรากฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ปฏิญญาสตอกโฮล์ม
ยังเรียกร้องให้ค านึงถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพและควรบรรจุเรื่องการจัดการดังกล่าว
2
เอาไว้ในแผนพัฒนาประเทศของตน ต่อมาในปี ค.ศ. 1987 คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและ
การพัฒนา (World Commission on Environment and Development: WCED) ได้ออกรายงานชื่อว่า
1 Article 1(1): “All peoples have the right of self-determination. By virtue of that right they freely determine their
political status and freely pursue their economic, social and cultural development.”
2 Principle 13, 1972 Declaration of the UN Conference on the Human Environment: “In order to achieve a more
rational management of resources and thus to improve the environment, States should adopt an integrated and
coordinated approach to their development planning so as to ensure that development is compatible with the
need to protect and improve environment for the benefit of their population”
1-1