Page 10 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 10

บทที่ 1
                                                                                                      บทน า


                       1.1.2  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

                       ส าหรับประเทศไทยในระดับนโยบายได้มีการรับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมา โดยแนวคิดดังกล่าว

               ปรากฏตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ซึ่งมุ่งเน้นการรักษาระดับ

               อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
               คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม


                       ในปัจจุบันพัฒนาการของประเทศไทยก็ปรับตัวตามบริบทระหว่างประเทศ ได้แก่ การออกแบบ
               แผนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

               โดยค านึงถึงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)  นอกจากนี้
               ในระดับของกระบวนการทางนิติบัญญัติได้มีการให้ความส าคัญต่อการปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและ

               ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา 43)

               ในส่วนที่ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 57, 58, และมาตรา 59) และในส่วนที่ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
               (มาตรา 72)

                       อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในประเทศไทยพบว่ามีการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ท าให้

               พื้นที่ป่าไม้ลดลงเป็นจ านวนมาก ซึ่งน าไปสู่ผลกระทบและความขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารจัดการ

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลได้มีมาตรการทวงคืน
               ผืนป่า โดยมีค าสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการ

               บุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้ และค าสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติม

               หน่วยงานส าหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการ
               ชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งค าสั่งทั้ง 2 ฉบับนี้ได้มอบให้กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายใน

               ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก าหนดยุทธศาสตร์ในการพิทักษ์
               ป่าไม้ ตลอดจนจัดท าแผนแม่บทก าหนดเป้าหมายที่จะต้องด าเนินการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยหยุดยั้งการตัดไม้

               ท าลายป่าและทวงคืนผืนป่าจากผู้บุกรุก การจัดระบบการบริหารป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและ
               ยั่งยืน และการฟื้นฟูป่าไม้ทั่วประเทศให้มีสภาพสมบูรณ์


                       จากการด าเนินการตามมาตรการดังกล่าวปรากฏว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่อง
               ร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีประชาชนได้รับผลกระทบจากการด าเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐโดยอ้างค าสั่งของ

               คณะรักษาความสงบแห่งชาติ 2 ฉบับดังที่กล่าวไป เพื่อขับไล่ บุกยึด และรื้อท าลายทรัพย์สินของราษฎรที่อยู่

               อาศัยและท ากินในพื้นที่ป่าโดยการด าเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องโดยมิได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่าง
               เพียงพอและไม่เป็นไปตามเงื่อนไขค าสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ต้องไม่กระทบถึงประชาชนผู้ยากไร้

               ผู้มีรายได้น้อย และไร้ที่ดินท ากิน ซึ่งได้อาศัยในพื้นที่เดิมก่อนมีค าสั่งดังกล่าว









               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                       1-3
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15