Page 11 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 11

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวท าให้คณะกรรมการประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ

               สังคม และวัฒนธรรม (Committee on Economic, Social and Cultural Rights) แห่งคณะมนตรีเศรษฐกิจ
               และสังคมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations on Economic and Social Council: ECOSOC) มี

               ข้อสังเกตโดยสรุปต่อรายงานครั้งแรกและครั้งที่สองที่ประเทศไทยต้องยื่น (concluding observation on the

                                                                                                        5
               combined initial and second periodic reports of Thailand) ว่าคณะกรรมการมีความกังวลดังต่อไปนี้
                       1)  การปฏิเสธสิทธิดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ (traditional rights of ethnic minorities) ที่มีในที่อยู่

                          เหนือผืนดิน และทรัพยากรธรรมชาติ และความเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ในมือของคนหมู่น้อย
                       2)  จากข้อมูลที่ได้รับซึ่งอ้างอิงถึงค าสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2557 เรื่อง

                          การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้ และค าสั่งของคณะรักษาความสงบ
                          แห่งชาติ (คสช.) ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานส าหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุก

                          ท าลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ส่งผลให้
                          เกิดการท าลายพืชผล รวมทั้งการบังคับรื้อไล่

                       3)  ผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงโครงการ

                          ขนาดใหญ่ เช่น กรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคล
                          ในบริเวณใกล้เคียง  นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขาดการมีส่วนร่วม กระบวนการปรึกษาหารือ และ

                          ข้อจ ากัดในการเข้าถึงข้อมูลส าหรับบุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

                       คณะกรรมการจึงขอแนะให้ประเทศไทยด าเนินการที่จ าเป็น ซึ่งรวมทั้งการปรับแก้กรอบนโยบายและ

               กฎหมาย

                       1)  ขจัดอุปสรรคใดๆ ที่เป็นการขัดขวางการมีสิทธิดั้งเดิมของบุคคลและชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับ

                          ผลกระทบ และด าเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในการรับรองสิทธิในที่ดินโดยปราศจากการเลือก
                          ปฏิบัติเพื่อที่จะท าให้แน่ใจว่าคนเหล่านั้นสามารถเข้าถึงที่ดินและมีที่พักอย่าง

                       2)  ต้องท าให้แน่ใจว่าการบังคับรื้อไล่จะถูกใช้ในฐานะมาตรการสุดท้าย และบุคคลที่ถูกบังคับเช่นว่า
                          นั้นจะต้องได้รับการชดเชยหรือการย้ายที่อยู่อย่างเหมาะสม  ทั้งนี้ ให้ค านึงถึงความเห็นทั่วไป

                          ของคณะกรรมการประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                          ฉบับที่ 4 และ ฉบับที่ 7
                       3)  น าแนวทางบนฐานสิทธิมนุษยชน (human right based approach) มาใช้กับโครงการการพัฒนา

                          ต่างๆ รวมทั้งสร้างกลไกการมีส่วนร่วมเพื่อที่จะท าให้แน่ใจว่าการตัดสินใจต่างๆ ของภาครัฐ

                          จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรโดยปราศจากการปรึกษาหารือกับบุคคลหรือชุมชน
                          เพื่อที่จะได้รับความยินยอมที่เป็นอิสระ






               5   Para. 10 United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2 19 June 2015.



               1-4                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16