Page 14 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 14
บทที่ 1
บทน า
ด าเนินนโยบาย และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่าไม้ และ (3) ร่างแนวทางในการส่งเสริมการบริหาร
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนบนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยื่นของสหประชาชาติ ที่ยึดคนหรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในบริบทที่ครอบคลุมถึงหลักการด้าน
สิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
1.3.8 จัดการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการรับรองการให้สิทธิ
การใช้ประโยชน์ในที่ดินของบุคคล กลุ่มบุคคล และ/หรือชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ป่าอันเป็นการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบจากการด าเนินนโยบาย และ/หรือกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับที่ดิน/ป่าไม้ และร่างแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบน
ฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยมีกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตามข้อ 1.3.6 เข้าร่วมอย่างน้อยกลุ่มละ
ไม่น้อยกว่า 10 คน โดยรวมทั้งหมดแล้วต้องรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ไม่น้อยกว่า 30 คน
และจัดท าสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ
1.3.9 จัดท ารายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีสาระส าคัญประกอบด้วยเนื้อหาที่ได้ตามขอบเขตการ
ศึกษาวิจัย ข้อ 1.3.1–1.3.7 ข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ได้รับ
ผลกระทบจากการด าเนินนโยบาย และ/หรือ กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดิน/ป่า และแนวทางในการส่งเสริมการ
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนบนฐานสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ผ่านการรับฟังความ
คิดเห็นตามข้อ 1.3.8 และความเห็นของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา
1.4 กรอบแนวคิดและวิธีการศึกษา
1.4.1 กรอบแนวคิด
ในการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะแนวทางในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ได้รับผลกระทบ
จากการด าเนินนโยบาย และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่า และแนวทางในการส่งเสริมการบริหาร
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนบนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมนั้น คณะผู้วิจัยจะท าการ
ศึกษาใน 2 ประเด็น ได้แก่
(1) ปัญหาและผลกระทบอันมีสาเหตุจากการด าเนินการตามแผน นโยบาย มาตรการ และกฎหมาย
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่า โดยจะศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นทั้งเอกสารและกลุ่มบุคคล เช่น ค าร้องและ/
หรือรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน แผน นโยบาย กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์
ที่เกิดขึ้นใน 4 พื้นที่ รวมถึงการสัมภาษณ์และ/หรือจัดประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่
ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม
(2) บริบทสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะ
ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก เช่น มาตรฐานและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พันธกรณี
ระหว่างประเทศ กฎหมายหรือค าพิพากษาของต่างประเทศ เป็นต้น (รายละเอียดดังแสดงในกรอบ)
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 1-7