Page 53 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 53
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
− ติดตามและประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้ทรัพยากร ทั้งพฤติกรรมในการใช้และการเก็บเกี่ยว
ทรัพยากรให้เป็นไปตามกฎและกติกาที่วางไว้
− ติดตามและประเมินสถานภาพของทรัพยากร
5) มีมาตรการลงโทษแบบค่อยเป็นค่อยไป (graduated sanctions for appropriators who do
not respect community rules) กล่าวคือ ใช้การลงโทษที่ไม่รุนแรงก่อน หากมีการละเมิดกฎ
กติกาซ้ า จึงค่อยเพิ่มระดับความรุนแรงของโทษ
6) มีกลไกจัดการความขัดแย้งที่ต้นทุนต่ าและเข้าถึงง่าย (conflict-resolution mechanisms
which are cheap and easy of access)
7) รัฐรับรู้และให้สิทธิแก่ผู้ใช้ทรัพยากรในการวางกติกาการใช้และจัดการทรัพยากร (minimal
recognition of rights to organize)
8) อยู่ภายใต้กติกาของการจัดการทรัพยากรร่วมขนาดใหญ่กว่า (In case of larger CPR: Organization
in the form of multiple layers of nested enterprises, with small, local CPR at their
bases)
ส าหรับประเทศไทยมีการก่อตั้งสิทธิและการจัดการในที่ดินแค่ในรูปแบบโฉนดที่ดินของเอกชน และ
การออกกฎหมายบังคับโดยรัฐ นโยบายรัฐที่ผ่านมาจึงยอมรับระบบกรรมสิทธิ์เพียง 2 ระบบ ยังไม่มีการ
83
รองรับสิทธิในการจัดการทรัพยากรร่วม อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกกฎหมายป่าชุมชนในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจะ
ได้ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของสิทธิว่ามีลักษณะของการจัดการทรัพยากรร่วมครบถ้วนเพียงใดต่อไป
2.2.3 วนศาสตร์ชุมชน
84
วนศาสตร์ชุมชน หมายถึง “กิจการของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ เพื่อผลประโยชน์ของ
ครอบครัวและชุมชน” เป็นการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตชุมชน
โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน ไร้ที่ท ากิน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม มีพัฒนาการด้านแนวคิดในช่วงหลัง
สงครามโลก ครั้งที่ 2 จากความเชื่อว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมคือวิธีแก้ปัญหาความยากจนและการว่างงาน
ภายในประเทศ ท าให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจมุ่งเน้นเพื่อการค้า จึงเกิดการขยายพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อ
อุตสาหกรรมแปรรูปและการส่งออก การเกษตรกับการป่าไม้ถูกแยกห่างจากกัน จนกระทั่งพบว่าการพัฒนา
ในลักษณะดังกล่าวจ ากัดอยู่ในวงแคบๆ ไม่ได้กระจายไปสู่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ หลายประเทศ
จึงเปลี่ยนทิศทางโดยมุ่งพัฒนาชนบท น ามาสู่การประชุมสภาการป่าไม้โลก ครั้งที่ 8 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศ
อินโดนีเซีย ซึ่งก่อให้เกิดแนวคิดว่าการจัดการป่าไม้ควรตอบสนองต่อชุมชนและสังคมมากขึ้น
83 เพ็ญนภา สวนทอง. แนวคิดและทฤษฎีในการศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: มุมมองเศรษฐศาสตร์
การเมือง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2.
84 เอกสารประการฝึกอบรมด้านวนศาสตร์ชุมชน เอกสารฝึกอบรมชุดที่ 1/3 สนับสนุนโดย Canada Fund. สถานทูตแคนาดา จัดท า
โดยแผนงานสนับสนุนการด าเนินงานด้านป่าชุมชนในประเทศไทย ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-35