Page 54 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 54
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
หลังจากนั้นวนศาสตร์ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงจากการริเริ่มปลูกป่าในที่เสื่อมโทรมมาสู่การจัดการป่า
ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกับชุมชน โดยชุมชนเป็นผู้จัดการ เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้สนับสนุนเพื่อเปลี่ยนจาก
ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นความร่วมมือ มีการสร้างระบบการจัดการป่าร่วมกัน
ตารางเปรียบเทียบการจัดการป่าไม้แบบดั้งเดิมกับการจัดการป่าร่วมกับประชาชน
การจัดการป่าไม้แบบดั้งเดิม การจัดการป่าตามแนวทางวนศาสตร์ชุมชน
ด้านการบริหารจัดการ จัดการโดยรัฐ จัดการโดยองค์กรประชาชน
จัดการแบบรวมศูนย์อ านาจ จัดการแบบกระจายอ านาจ
ตัดสินใจโดยหน่วยงานเดียว ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์ มุ่งกระบวนการท างาน
ก าหนดวิธีการตายตัว วิธีการยืดหยุ่นได้/ปรับได้
เป็นการจัดการเนื้อที่ขนาดเล็ก
รัฐมีบทบาทในการสนับสนุน
ด้านเศรษฐกิจ มุ่งผลิตผลผลิตชนิดเดียวโดยเฉพาะ มุ่งจัดการทรัพยากร
วัตถุประสงค์เพื่อการขายไม้ เพื่อการผลิตที่หลากหลาย
เน้นการท าสวนป่า เน้นความยั่งยืน และการขยายพันธุ์ตาม
ธรรมชาติของป่า
ด้านสังคม ควบคุมโดยการลงโทษตามกฎหมาย ควบคุมด้วยกลไกทางสังคมของชุมชน
เน้นสิทธิและหน้าที่ชุมชนยอมรับความ
หลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
ที่มา: เอกสารประกอบการฝึกอบรมด้านวนศาสตร์ชุมชน
แนวคิดวนศาสตร์ชุมชนจึงเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ลดลง
และความยากจนในชนบท โดยกลับไปให้ความสมดุลกับความสัมพันธ์ของคนกับป่าที่มีมาตั้งแต่อดีต ให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ
จากการศึกษาแนวคิดทั้ง 3 แนวคิด อาจสรุปได้ว่าในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานสิทธิในสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนนั้น นอกจากจะต้องมีการตระหนักถึงตัวทรัพยากรแล้ว มนุษย์หรือชุมชน
จะต้องมีศักยภาพในการจัดการ ได้รับการประกันสิทธิที่จ าเป็นต่อการจัดการ โดยรัฐมีหน้าที่สร้างกลไกที่สร้าง
แรงจูงใจ ระบบติดตามตรวจสอบ และการลงโทษที่เหมาะสม รวมถึงสร้างระบบที่เอื้ออ านวยให้เกิดการเรียนรู้
และปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการจัดการในรูปแบบเดิมคือรัฐเป็นศูนย์กลาง หรือการ
จัดการโดยตลาดอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ของความยั่งยืนได้ การกระจายอ านาจให้พื้นที่
หรือชุมชนโดยสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ จัดท าข้อมูล และแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมกับพื้นที่นั้น จึงจะเป็นการ
จัดการที่น าไปสู่ความยั่งยืนได้มากกว่า
2-36 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย