Page 51 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 51
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
78
ที่แตกต่างกันจะสร้างแรงจูงใจในการใช้ทรัพยากรที่ต่างกัน ดังนั้น รัฐจึงสามารถสร้างแรงจูงใจเพื่อการ
ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ต่างกันในทรัพยากรที่มีความจ าเป็นแตกต่างกัน ผ่านการสร้างกลไกในระบบ
กรรมสิทธิ์ ดังนี้
(1) ระบบกรรมสิทธิ์แบบไม่มีสิทธิ (non-property) หรือกรรมสิทธิ์เปิดกว้าง (open-access
regimes)
เป็นระบบกรรมสิทธิ์ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีการควบคุมดูแล ส่วนใหญ่เพราะโดยธรรมชาติของ
ทรัพย์สินนั้นไม่อาจถือครองหรือควบคุมการใช้ได้ เช่น อากาศ เป็นต้น หากก าหนดให้ทรัพย์สินหรือทรัพยากร
มีระบบกรรมสิทธิ์แบบเปิดกว้างจะท าให้มีการเข้าถึงและการใช้อย่างไม่จ ากัด น ามาซึ่งความเสื่อมโทรม
ดังทฤษฎีโศกนาฏกรรมของการใช้ทรัพยากรร่วม (tragedy of the commons) ซึ่งเสนอว่าการจัดการ
ทรัพยากรร่วมนี้ต้องบริการจัดการโดยกลไกรัฐหรือตลาดเท่านั้น ปฏิเสธการให้ผู้ใช้ทรัพยากรจัดการกันเอง
79
อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ Garrett Hardin (1968) ได้ใช้ค าว่าทรัพยากรร่วม (commons) ในฐานะทรัพยากรไม่มี
เจ้าของ (open-access) ซึ่งแตกต่างกับระบบกรรมสิทธิ์ร่วม (common-property regimes) ที่จะได้กล่าวถึง
ต่อไป
(2) ระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐ (state-property regimes)
เป็นระบบกรรมสิทธิ์ที่รัฐเป็นเจ้าของและควบคุมการใช้ทรัพยากรนั้น โดยอาจจะอยู่ในความดูแลของ
หน่วยงานรัฐหรือให้เอกชนเช่าตามระยะเวลาที่ก าหนด ส่วนใหญ่จะใช้กับทรัพย์สินหรือทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
กับประโยชน์สาธารณะที่ต้องก าหนดเงื่อนไขการใช้ เช่น เหมืองแร่ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น
(3) ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล (private-property regimes)
เป็นระบบกรรมสิทธิ์ที่เอกชนเป็นเจ้าของ ซึ่งส่วนใหญ่รัฐจะให้การรับรองและคุ้มครองเพราะบุคคล
มีแนวโน้มที่จะรักษาทรัพย์สินของตนเองและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น หากเอกชนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลัง
หนึ่ง เอกชนอาจรับผลประโยชน์จากบ้านโดยการอยู่อาศัยหรือปล่อยเช่า เอกชนย่อมจะต้องดูแลรักษาบ้าน
ให้อยู่ในสภาพดี ในทางตรงกันข้าม หากบ้านหลังนั้นใช้ระบบกรรมสิทธิ์แบบเปิดกว้าง ทุกคนสามารถเข้ามาใช้
และหาประโยชน์จากบ้าน จะไม่มีใครยอมเสียค่าบ ารุงรักษาบ้าน เป็นต้น
78 ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ. (2555). เอกสารประกอบค าบรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินกับปัญหาสิ่งแวดล้อม.
79 ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2556). ความคิดในทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ ชุมชนจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันได้อย่างไร.
ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-33