Page 56 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 56
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
− ปรับนโยบายการลงทุนภาครัฐให้เอื้อต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู ผลักดันให้มีการจัดเก็บ
ภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและ
ลดการก่อมลพิษ สร้างรายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพ
− พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลรวมทั้งส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อ
สร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ
แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 – 2559
− ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนแนวทางของความพอประมาณ
ความมีเหตุผล และการใช้องค์ความรู้ทั้งทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบการ
ตัดสินใจ โดยค านึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรม ในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ฐานทรัพยากร
ธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นการ
สมประโยชน์ (Win-Win) ต่อการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม
− เร่งบูรณาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผสมผสานกับการ
พัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ที่จะน าไปสู่การสร้างสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่าง
แท้จริง
− ให้ความส าคัญต่อบทบาทที่เข้มแข็งขึ้นของภาคประชาชน สิทธิชุมชนและส่งเสริมการ
กระจายอ านาจและหน้าที่รับผิดชอบ ตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
− มุ่งเน้นการสร้างสมดุลการพัฒนาในทุกมิติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณภาพ
การสร้างความเป็นธรรมในสังคม และการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงในมิติต่างๆ อย่าง
ยั่งยืน
− ก าหนดปัญหาส าคัญ ได้แก่
ความเสื่อมโทรมของดิน รวมทั้งปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ส าหรับการใช้
ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับสมรรถนะที่ดิน หรือการใช้ที่ดินผิดประเภท ซึ่งมีปัจจัย
ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จ านวนประชากร การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรม และการ
ขยายตัวของชุมชนและอุตสาหกรรม
การกระจายการถือครองที่ดิน พื้นที่การถือครองที่ดินของราษฎร ในช่วงปี พ.ศ.
2535 - 2552 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประชากรประมาณร้อยละ 90 ของ
ประเทศมีที่ดินถือครองเฉลี่ยคนละไม่เกิน 1 ไร่ ในขณะที่ประชากร ร้อยละ 10
มีที่ดินถือครองคนละกว่า 100 ไร่ รวมทั้งมีหมู่บ้านประมาณร้อยละ 30 ของประเทศ
2-38 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย