Page 50 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 50

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       จากการรวบรวมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิ

               ในการมีส่วนร่วมนั้น สามารถสรุปได้ว่ามีเป้าหมายในทั้ง 2 มิติ คือ (1) มิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่าง
               ยั่งยืน และ (2) มิติด้านเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน

               นั้นจะต้องมีการตระหนักในมูลค่าของระบบนิเวศ และวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ การอนุรักษ์ ปกป้อง

               ฟื้นฟู รวมถึงการส่งเสริมการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การจัดการที่ยั่งยืน
               เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีการรับประกันว่ามนุษย์จะมีศักยภาพเพียงพอ การเสริมสร้างศักยภาพที่จะ

               พัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจึงต้องอาศัยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา โดยเฉพาะความรู้และทักษะที่จ าเป็น
               ส าหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเข้าถึงทรัพยากรและมีสิทธิใช้ประโยชน์ มีการประกันสิทธิในการ

               ตั้งถิ่นฐาน การเข้าถึงข้อมูล รวมถึงได้รับส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมและทางการเมือง โดยผ่านการ
               มีผู้แทนหรือการมีส่วนร่วมในทุกระดับ


                       2.2.2  สิทธิในทรัพย์สินและระบบกรรมสิทธิ์

                       การมีสิทธิในทรัพย์สิน (rights to property) เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคลในการครอบครองเป็นเจ้าของ

                         74
               ได้โดยสงบ  สิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิมนุษยชนหรือไม่นั้นยังคงมีข้อถกเถียงอยู่ เนื่องจากสิทธิในทรัพย์สิน
               ไม่ปรากฏอยู่ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant

               on Civil and Political Rights 1966: ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม

               และวัฒนธรรม ค.ศ. 1996 (International Covenant on Economic, Social and Cultural rights 1996:
               ICESCR) แต่ไปปรากฏอยู่ในข้อ 17 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of

               Human Rights: UDHR) 2 ประการ คือ (1) ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทั้งโดยล าพังและ
               โดยร่วมกับผู้อื่น (2) ผู้ใดจะพรากสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่นไปตามอ าเภอใจไม่ได้
                                                                                75

                       อย่างไรก็ตาม ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์การก่อตั้งสิทธิในทรัพย์สินตามกฎหมายมีเป้าหมาย
                        76
               2 ประการ  คือ (1) จัดสรรทรัพยากร (allocating resources) และ (2) กระจายความมั่งคั่ง (distributing
               wealth) โดยมีรูปแบบกรรมสิทธิ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน

                       การก่อตั้งกรรมสิทธิ์ (propreitorship) ท าให้เจ้าของมีความสามารถกีดกันไม่ให้ผู้อื่นใช้หรือได้รับ

               ประโยชน์จากทรัพย์สินของตน  และหากผู้คนในสังคมต้องการคงไว้ซึ่งสิทธิดังกล่าว สังคมก็ต้องสร้างกลไก
                                         77
               เชิงสถาบันเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะกีดกันมิให้ผู้อื่นแทรกแซงได้ ระบบกรรมสิทธิ์





               74    Council of European,  Manual on Human rights  and the Environment,  second  edition,  (Council of Europe
                   publishing, 2013).
               75   Ariticle 17, (1) Everyone has the right to own property alone as well as in association with others. (2) No one
                   shall be arbitrarily deprived of his property.
               76    Robert Cooter and Thomas Ulen (2012) Law and Economics.
               77    Daniel W. Bromley. (1991). Environment and Economy: Property Rights and Public Policy. Massachusetts:
                   Basil Blackwell.



               2-32                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55