Page 52 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 52

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       (4) ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม (common-property regimes)

                       เป็นระบบกรรมสิทธิ์ที่บุคคลหลายคนใช้ประโยชน์ในแหล่งทรัพยากรร่วมกัน (jointly use) แต่มิได้มี

               ผลประโยชน์ร่วมกัน ผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพยากรร่วมนั้นเป็นผลประโยชน์ของแต่ละบุคคล เช่น ทรัพยากร

               ร่วม (common-pool resource) นั้น มีลักษณะบางประการเหมือนสินค้าเอกชน (private goods) และ
               บางประการเหมือนสินค้าสาธารณะ (public goods) และสามารถลดน้อยจนหมดไปได้ เช่น ทรัพยากรที่ดิน

               และป่าไม้ เป็นต้น หากปล่อยให้เป็นกรรมสิทธิ์แบบเปิดกว้างก็จะไม่มีคนดูแลรักษา หรือหากบริหารจัดการด้วย
                                                                                                 80
               ระบบกรรมสิทธิ์แบบรัฐเป็นเจ้าของ การบังคับใช้กฎหมายจะมีต้นทุนที่สูงมาก หรืออาจท าไม่ได้เลย   ในทาง
               ตรงกันข้าม หากบริหารจัดการด้วยระบบกรรมสิทธิ์แบบเอกชนซึ่งไม่มีกติกาบังคับก็อาจท าให้เกิดการใช้

               ประโยชน์ไม่เหมาะสมกับพื้นที่  ดังนั้น ระบบกรรมสิทธิ์แบบทรัพยากรร่วมจึงต้องมีรูปแบบการจัดการที่ผู้ใช้
                                                                                            81
               ทรัพยากรต้องอยู่ภายใต้กติกาบางอย่างแต่สามารถเรียนรู้และหาทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ตลอด

                       Elinor Ostrom ได้เสนอหลักการในการจัดการทรัพยากรร่วม (design principles) จากการศึกษา
                                                                             82
               การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนที่ประสบความส าเร็จไว้ 8 ประการ  ซึ่งอาจน ามาปรับใช้ในการดูแล
               ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ได้ ดังนี้

                       1)  การระบุขอบเขตที่ชัดเจน (clearly defined boundaries) ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

                          −  ระบุขอบเขตของผู้ใช้ทรัพยากร (user bounderies) เพื่อจ าแนกว่าผู้ที่มีสิทธิใช้ทรัพยากร
                              เป็นใครบ้าง ชุมชนจะต้องสามารถแยกได้

                          −  ระบุขอบเขตของทรัพยากร (resource boundaries) เพื่อจ าแนกขอบเขตของทรัพยากร

                              ที่ใช้ได้
                       2)  กติกาในการจัดการทรัพยากรจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมและเงื่อนไขของพื้นที่ (congruence

                          between appropriation and provision rules and local conditions)
                       3)  ผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากรสามารถมีส่วนร่วมในการก าหนดกติกาในการจัดการทรัพยากร

                          ( collective-choice  arrangements  allowing  for  the  participation  of  most  of  the
                          appropriators in the decision making process)

                       4)  มีการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากร (effective

                          monitoring by monitors who are part of or accountable to the appropriators) โดย
                          ต้องติดตามประเมินผลที่ส าคัญ 2 ด้าน ได้แก่







               80    ชล บุนนาค. แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จาก ต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. (นนทบุรี:
                   ส านักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม (ส.ป.ร.)). น.41-43.
               81    Elinor Ostrom. (2005). Understanding Institutional Diversity. Princeton. NJ: Princeton University Press.
               82    Elinor  Ostrom.  (1990).  Governing  the  Commons:  The  Evolution  of  Institutions  for  Collective  Action.
                   Cambridge University Press.



               2-34                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57