Page 187 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 187
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังได้ก าหนดให้รัฐด าเนินการ
เกี่ยวกับทรัพยากรตามมาตรา 72 ในการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
และจัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน ตาม
มาตรา 58 รวมถึงที่ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อเป็นการรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและ
ไม่ต้องรับภาระทางสิ่งแวดล้อมโดยไม่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งจ าเป็นต้องมีเครื่องมือในการ
กระจายภาระและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ทั้ง 2 หลักการ ดังนี้
(1) หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP)
หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายปรากฏอยู่ในปฏิญญาริโอว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Rio
Declaration on Environment and Development) โดยระบุไว้ในหลักการที่ 16 มีชื่อเป็นทางการว่า
“หลักการผลักต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมกลับเข้าสู่ผู้ก่อ (Internalization of Environmental Costs)” เป็นการ
น าต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมบวกเข้าไปเป็นต้นทุนของการผลิตสินค้าและบริการ จึงเป็นกลไกหลักที่จะท าให้สินค้า
และบริการสะท้อนต้นทุนทางด้าน เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและลดแรงจูงใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคในการก่อมลพิษ
โดยเครื่องมือที่เกี่ยวข้องจะเป็นเครื่องมือที่ท าให้ ‘ราคา’ ของสิ่งแวดล้อมอยู่ในสินค้า ซึ่งอาจปรากฏในหลาย
รูปแบบ ดังนี้
− การก าหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานการระบายน้ าทิ้ง
จากโรงงาน ค าสั่งห้ามระบายน้ าทิ้งที่มีคุณภาพต่ าลงทางน้ าชลประทาน เป็นต้น โดยหากมีการ
ปล่อยมลพิษเกินจากค่ามาตรฐานที่ก าหนด ผู้ก่อมลพิษดังกล่าวจะต้องเสียค่าชดเชยเพื่อให้
หน่วยงานรัฐน าไปใช้ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
− การก าหนดให้ผู้ผลิตมีการบ าบัดมลพิษ เช่น ก าหนดให้ติดตั้งระบบบ าบัดอากาศเสียในโรงงาน
จัดให้มีระบบบ าบัดน้ าเสียหรือระบบก าจัดของเสีย เป็นต้น เพื่อเพิ่มหน้าที่ให้ผู้ก่อมลพิษ
รับผิดชอบในการบ าบัดมลพิษ
− การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บภาษีคาร์บอนไดออกไซด์จากยานยนต์เพื่อลดมลพิษ
จากภาคขนส่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมควรเน้นการจัดเก็บที่ต้นทาง
เพื่อไม่ให้เกิดการเก็บซ้ าซ้อน รวมถึงจะต้องไม่ก าหนดยกเว้นภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมการ
ลงทุน
6-16 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย