Page 185 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 185
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พิจารณาข้อเสนอแนะนั้นโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยตามวิธีการ
ที่กฎหมายบัญญัติ”
(5) การแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมาย เป็นการก าหนดให้มีกรรมการมาจากองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นหรือผู้แทนชุมชน ในจ านวนที่เหมาะสมเพียงพอ เพื่อไม่ให้อ านาจการตัดสินใจถูกผูกขาด
9
มีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียในการตัดสินใจ รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับการตัดสินใจด้วย
ดังนั้น เพื่อเป็นการรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อมของประชาชนและลดต้นทุนส่วนกลาง ต้องมีการกระจาย
อ านาจสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และสนับสนุนเครื่องมือที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.4 การกระจายภาระและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม
การกระจายภาระและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมเป็นแนวคิดความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
(Environmental Justice) ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมของกลุ่ม
เปราะบางทางสังคม อันเนื่องมาจากปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับที่ดิน กล่าวคือ ในสหรัฐอเมริกาที่ดินของ
กลุ่มคนผิวสีจะเป็นที่ดินมีราคาถูก จึงมักถูกใช้เป็นที่ทิ้งขยะซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและมีผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยไม่ได้รับการเยียวยาตามสมควร ในขณะที่พื้นที่อื่นที่น าขยะมาทิ้งไม่ต้องรับภาระใดใดในมลพิษดังกล่าว การ
เคลื่อนไหวนี้ท าให้เกิดแนวคิดว่าผู้ที่รับภาระทางสิ่งแวดล้อมนั้น นอกจากจะต้องได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม
แล้ว ยังต้องได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาด้วย รวมถึงผู้ที่ก่อภาระทางสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ต้นทุนที่เกิดขึ้น จนในปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวได้ขยายออกไปจนถึงแนวคิดว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม
ควรต้องเสียค่าตอบแทนส าหรับประโยชน์ที่ได้รับนั้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากร
ดังนั้น การกระจายภาระและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมจะเป็นการตอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
9 ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. แบบกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการ. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักกฎหมาย
กฤษฎีกา รุ่นที่ 3 วันที่ 26 เมษายน 2547 ณ ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
6-14 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย