Page 182 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 182
บทที่ 6
แนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
ที่ดินของหน่วยงานรัฐได้ ดังนั้น ในกรณีการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางราชการ หน่วยงานรัฐจึงไม่ควรถือครอง
ที่ดินด้วยตนเอง ควรมีผู้ดูแลทรัพย์สินส่วนกลางเป็นผู้ติดตามตรวจสอบ
การน าที่ดินของรัฐให้ประชาชนใช้หาประโยชน์
การให้เช่าที่ดินหรือการออกหนังสือรับรองการท าประโยชน์ในที่ดินของหน่วยงานรัฐ ซึ่งหลาย
หน่วยงานมีอ านาจในการกระท าได้นั้น ควรมีแบบมาตรฐานสัญญาเช่าหรือแบบหนังสือที่ใช้ร่วมกัน เพื่อให้การ
ก าหนดเงื่อนไขมีความชัดเจน ตรวจสอบได้ อาทิ หลักเกณฑ์ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหา
ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2552 รวมถึงการอนุโลมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยผู้มีอ านาจ
ควรเป็นบทสันนิษฐานให้ประชาชนมีสิทธิเรียกร้องให้หน่วยงานท าสัญญาเช่าหรือออกหนังสือรับรองการท า
ประโยชน์ได้ เพื่อลดการถือครองที่ไม่เป็นทางการและโอกาสในการทุจริต
นอกจากนี้ ในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐจะต้องค านึงถึงการกระจายต้นทุนและผลประโยชน์ทาง
สิ่งแวดล้อมภายใต้มาตรฐานเดียวกับเอกชน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรที่เกี่ยวข้องและพื้นที่
โดยรอบที่ดินของรัฐ ดังจะได้กล่าวต่อไปในข้อ 6.4
การมีวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินของรัฐและมาตรการในการก ากับดูแลที่ชัดเจน จะท าให้การด าเนินงาน
ของหน่วยงานมีความโปร่งใส รับผิดชอบ สามารถวางแผนการพัฒนาประเทศในระยะยาวได้ง่าย ทั้งยังเป็นการ
สร้างหลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนอีกด้วย
6.3 การกระจายอ านาจโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
จากสภาพปัญหา พบว่าประเทศไทยมีการปกครองแบบรวมศูนย์อ านาจ การก าหนดนโยบายและออก
กฎหมายมาจากส่วนกลาง ซึ่งมีต้นทุนการบังคับใช้สูงและเป็นไปในแนวทางที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่อื่น
ส่งผลให้พื้นที่ที่มีเงื่อนไขที่แตกต่างไม่สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้ นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาแนวเขต
ซ้อนทับระหว่างหน่วยงาน รวมถึงทับซ้อนกับพื้นที่อยู่อาศัยยังไม่เป็นผลส าเร็จ ดังนั้น การกระจายอ านาจและ
การจัดท าฐานข้อมูลกลางที่ใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน โดยประชาชนมีส่วนร่วมจะเป็นการตอบเป้าหมายเพื่อ
การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 6-11