Page 184 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 184
บทที่ 6
แนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
ปฏิรูประบบการพิทักษทรัพยากรปาไมที่เน้นให้ระบบของการพิทักษทรัพยากรปาไมมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อแก้ปัญหาด้านก าลังคน โดยใช้การกระจายอ านาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน เป็นต้น
นอกจากนี้ ในส่วนของการจัดท าฐานข้อมูลกลาง ที่ผ่านมาการจัดท าแผนที่ส าหรับการใช้ร่วมกันอย่าง
บูรณาการนั้น เป็นการก าหนดพื้นที่และแก้ไขแนวเขตโดยอาศัยอ านาจของหน่วยงานแต่ละแห่ง ท าให้การ
เจรจาต่อรองไม่สามารถหาข้อสรุปได้เนื่องจากจะมีผลกระทบตามมา รวมถึงพื้นที่ป่าประเภทต่างๆ มีการ
เปลี่ยนสภาพ เปลี่ยนแนวเขต ดังนั้น แผนที่ที่จะจัดท าเป็นข้อมูลกลางจึงยังไม่ควรมีแนวเขตที่อยู่ในความดูแล
ของหน่วยงาน แต่ต้องเป็นการส ารวจเชิงกายภาพตามความเป็นจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลทางนิเวศอย่างครบถ้วน
และไม่อาจอาศัยเพียงแต่การส ารวจของรัฐเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีการประกอบข้อมูลหลายๆ ส่วน
เข้าด้วยกัน ทั้งภาพถ่ายทางอากาศ การระบุพิกัด GPS แผนที่ชุมชน เป็นต้น
การกระจายอ านาจและการจัดท าฐานข้อมูลนั้น จึงต้องมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
และชุมชน เพื่อให้ส่วนกลางได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน สามารถวางนโยบายหลักเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา
ให้กับท้องถิ่นและชุมชน ในขณะที่ท้องถิ่นและชุมชนสามารถใช้ฐานข้อมูลนั้นในการจัดการทรัพยากรให้เป็นไป
อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับพื้นที่และมีประสิทธิภาพ โดยเครื่องมือในการมีส่วนร่วมอาจมีได้ดังนี้
(1) การประชาพิจารณ์ (public hearing) เป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นก่อนการด าเนินการ
เช่น การก าหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการด าเนินการของรัฐตามระเบียบ
ส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
(2) การสอบถามสาธารณะหรือการไต่สวนสาธารณะ (public inquiry) การแสดงความคิดเห็นหรือ
โต้แย้งคัดค้านก่อนการออกกฎของฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจท าโดยผู้แทนประชาชน เช่น สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ในประเทศอังกฤษมีการใช้การ
ไต่สวนสาธารณะเป็นมาตรการทางปกครองของรัฐก่อนที่ผู้บริหารจะออกกฎหมายหรือมีค าสั่ง
ในเรื่องที่จะกระทบประชาชน
(3) การท าประชามติ (public referendum) การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนเพื่อมีมติชี้ขาด
เช่น การท าประชามติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
พ.ศ. 2552 ในเรื่องที่นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการจัดท า เป็นต้น
(4) การลงชื่อ (public registries) เป็นการเข้าชื่อเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสาธารณะ
นอกจากจะปรากฏในกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแดนาดาแล้ว ยังปรากฏ
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 (3) ว่า “บุคคลและชุมชน
ย่อมมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ด าเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการด าเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของ
ประชาชนหรือชุมชน และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐต้อง
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 6-13