Page 191 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 191
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับเดียวกันและต่างระดับกัน เพื่อให้เกิดการจัดการในระดับท้องถิ่นที่สามารถ
13
ปรับตัวทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ การให้ประชาชนเป็นผู้มีบทบาทน าในการจัดการ
ร่วม เพื่ออาศัยประสบการณ์และภูมิปัญญาของชุมชน ท าให้การจัดการทรัพยากรมีความสอดคล้องกับบริบท
14
พื้นที่และความต้องการของชุมชน
การจัดการร่วมเป็นการสร้างแรงจูงใจเชิงบวกให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยลดบทบาทการใช้อ านาจ
บังคับตามกฎหมายโดยขาดความยืดหยุ่น แต่มีบทบาทในเชิงสนับสนุนเพื่อร่วมเรียนรู้ไปกับประชาชน ท าให้
การบริหารจัดการทรัพยากรของภาครัฐใช้ต้นทุนการบังคับตามกฎหมายที่ต่ าลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6.6 สรุป
ในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนบนฐานของสิทธิ
ในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาตินั้น จะต้องมีการก าหนดวัตถุประสงค์เพื่อ
ประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดิน (efficiency) ความเป็นธรรมในการเข้าถึงที่ดิน (equity) และการรักษา
สมดุลระหว่างทั้งสองวัตถุประสงค์ โดยมีการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดิน ใช้องค์ความรู้
เกี่ยวกับระบบนิเวศ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน
ดังนั้น ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะที่ดินและป่าไม้จะต้องมี
การใช้เครื่องมือต่างๆ ทั้งส าหรับที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชน เพื่อเป็นการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและ
สร้างความเป็นธรรม อันจะน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถสรุปได้ตามขั้นตอนการใช้ที่ดิน ดังนี้
13 ชล บุนนาค. (2552). “แนวความคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย”.
ชุดหนังสือ การส ารวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย.
14 นฤดม ทิมประเสริฐ. (2554). “กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดท าข้อบัญญัติ
ท้องถิ่นทางทะเล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนต าบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่.
6-20 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย