Page 190 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 190
บทที่ 6
แนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
เป้าหมายที่ 15.9 บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลาย
ทางชีวภาพเข้าไปสู่การวางแผน กระบวนการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การลดความยากจน และบัญชีทั้งระดับ
ท้องถิ่นและระดับประเทศ
เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เป้าหมายที่ 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตาย
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคน ที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยส าคัญ
เข้าถึงความยุติธรรม และสร้าง เป้าหมายที่ 16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
สถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดรับชอบ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรม
และครอบคลุม ในทุกระดับ อย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
เป้าหมายที่ 16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดรับชอบ
และโปร่งใสในทุกระดับ
เป้าหมายที่ 16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มี
ความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความ
เป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
เป้าหมายที่ 16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูล
และมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเป็นไปตาม
กฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่าง
ประเทศ
นอกเหนือจากเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
(พ.ศ. 2556 - 2561) ได้มีการก าหนดแนวทางที่สอดคล้องกับการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ มีเป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานราชการทบทวนบทบาทและภารกิจของตน โดยให้ความส าคัญต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น การถ่ายโอนภารกิจบางอย่าง
ที่ภาครัฐไม่จ าเป็นต้องด าเนินงานเองให้ภาคส่วนอื่น รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือหรือความเป็นภาคีหุ้นส่วน
(Partnership) ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น เช่นเดียวกับมาตรา 57 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ที่ได้ก าหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น บริหาร
จัดการ ใช้และจัดให้มีการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ รวมไปถึงจัดพื้นที่สาธารณะและสนับสนุนการใช้สิทธิและการ
มีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการร่วมเป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากทฤษฎีการตัดสินใจเชิงสถาบัน (institutional choice
theory) ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เป็นแนวคิดแบบพหุนิยม (pluralism) ซึ่งยอมรับว่าในสังคมมีความคิด
12
ที่แตกต่างหลากหลาย และสนับสนุนความแตกต่างหลากหลายเหล่านั้น การจัดการร่วมจึงเน้นในเรื่องของการ
สื่อสาร การเจรจาต่อรอง การเรียนรู้ทางสังคม และการมีฉันทามติร่วมกันในการด าเนินการ งานวิจัยที่เกี่ยวกับ
รูปแบบการจัดร่วมระหว่างรัฐและประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดท า
ข้อเสนอถึงการส่งเสริมการจัดการในรูปแบบนี้ไว้หลายประเด็น ได้แก่ การพิจารณาก าหนดโครงสร้างสถาบัน
12 Ryan Plummer and John Fitzgibbon. (2004). “Co-management of Natural Resources: A Proposed Framework”.
Environmental Management. volume 33. p. 876–885.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 6-19