Page 188 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 188

บทที่ 6
                                                       แนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                                 บนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ


                       (2)  หลักผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary Pays Principle: BPP)

                       หลักผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่ายเป็นหลักการที่ต่อยอดจากหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย มีความ

               เหมาะสมกับประเทศก าลังพัฒนาที่มีความเหลื่อมล้ าในการเข้าถึงทรัพยากรมากกว่า  โดยหลักการดังกล่าว
                                                                                      10
               จะสร้างความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากร และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้รับภาระจากการน าทรัพยากร
               ไปใช้ ทั้งยังเป็นส่งเสริมให้เกิดการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของระบบนิเวศและทรัพยากรต่างๆ อย่างเป็น

               วิทยาศาสตร์

                       การจ่ายค่าตอบแทนส าหรับนิเวศบริการ (Payment for Ecosystem Service: PES) เป็นกลไกการ

               อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยก าหนดเงื่อนไขการท าธุรกรรมของผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 2 ฝ่าย คือ
               1) ผู้รับบริการหรือผู้ที่ได้ประโยชน์จากทรัพยากร และ 2) ผู้ให้บริการหรือผู้ท าหน้าที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากร

               โดยมีตัวอย่างในหลายประเทศ เช่น การจ่ายค่าดูแลรักษาระบบนิเวศจ านวน 2.7 ล้านเหรียญต่อปีให้กับชุมชน
               จ านวน 2,700 ครัวเรือนในประเทศเวียดนามส าหรับโครงการน าร่องในกิจการโรงไฟฟ้าพลังน้ าและธุรกิจ

               ท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยมีการริเริ่ม PES ในลักษณะโครงการน าร่องในหลายภาคส่วน เช่น

               กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ ได้ริเริ่มโครงการ
               ประเมินมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศในพื้นที่ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

               จัดท าโครงการธนาคารต้นไม้ มีโครงการน าร่องในชุมชน 84 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้โดยมีเงินกองทุนกู้ยืม
               โดยใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน และมีแผนการด าเนินงานในระยะยาวเพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน PES

               ส าหรับประเทศไทย  เป็นต้น
                                11
                       อย่างไรก็ตาม การสร้างเครื่องมือทางกฎหมายจากแนวคิดทั้ง 2 ประการ ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดทาง

               เศรษฐศาสตร์ อาจมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค านวณต้นทุนและผลประโยชน์เพื่อน ามาก าหนดมูลค่าที่เหมาะสม

               สอดคล้องกับนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้


               6.5  มาตรการเพื่อความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาชน


                       การก าหนดกฎหมายเพื่อการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เป็นไปเพื่อรักษาความเป็นระเบียบในการใข้ที่ดิน

               จึงต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม ในขณะที่บุคคลซึ่งเป็นผู้ทรง
               สิทธิในที่ดินย่อมมีโอกาสใช้ประโยชน์ในที่ดินผิดแผกไปจากที่ก าหนดไว้ในกฎหมาย ไม่ว่าจะด้วยความจงใจ

               หรือไม่มีเจตนา ท าไปเพื่อผลประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือท าไปเพื่อการอยู่อาศัยท ากินตามความจ าเป็น ต่างก็ท า




               10    กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม. (2555). โครงการรวบรวม
                   บทบัญญัติกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดท าประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อม.
               11    ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ. เอกสารการ
                   ประชุม The 3  South-East Asia Workshop on Payment for Ecosystem Service (PES) - Investment in Natural Capital
                             rd
                   for Green Growth 12-15 มิถุนายน 2554 ณ เมืองบันดา อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย.


               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      6-17
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193