Page 181 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 181
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จากสภาพปัญหาในบทที่ 4 พบว่าที่ดินของรัฐอยู่ภายใต้การก ากับและการใช้ประโยชน์ของหลาย
หน่วยงาน ขาดมาตรการก ากับการใช้ที่ดินที่ชัดเจน เมื่อเกิดการเข้าถือครองที่ไม่เป็นทางการของประชาชน
จึงส่งผลให้สิทธิขั้นพื้นฐานในที่ดินของบุคคลไม่ได้รับการคุ้มครองหรือถูกละเมิด รวมถึงการที่หน่วยงานรัฐไม่ได้
ใช้ที่ดินนั้นเองหรือไม่ได้วางแผนการใช้ที่ดิน ท าให้ขาดประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการ
สาธารณะ สร้างความล าบากในการก าหนดนโยบายที่ดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ
ดังนั้น ในการก ากับการใช้ที่ดินของรัฐจะต้องมีมาตรฐานที่เป็นกลางส าหรับใช้บังคับกับที่ดินของรัฐ
แต่การก าหนดมาตรฐานดังกล่าวเป็นเพียงการอุดช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการถือครองที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น
จึงสามารถก าหนดข้อยกเว้นหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันในที่ดินแต่ละประเภทได้ หรือหากกฎหมายเฉพาะ
ส าหรับที่ดินนั้นมีการก าหนดไว้แล้วก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ ในประเด็นดังต่อไปนี้
การรับรองการถือครองตามความเป็นจริง
การถือครองตามความเป็นจริงอาจเทียบเคียงได้กับสิทธิครอบครองในที่ดินเอกชน คือเป็นผู้เข้า
ครอบครองท าประโยชน์ในที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การถือครองที่ดิน
ของรัฐนั้นไม่อาจมีการครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกับที่ดินเอกชน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับประโยชน์
สาธารณะ ในทางกลับกัน หากการเข้าถือครองของประชาชนเป็นไปเพื่อใช้สิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่องอาหาร
ที่อยู่อาศัย หรือการประกอบอาชีพ รัฐก็ไม่ควรละเมิดการถือครอง ควรใช้มาตรการเยียวยาที่เหมาะสมเพื่อเป็น
การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนนั้น
การถือครองตามความเป็นจริงนั้น แม้จะไม่มีฐานรองรับตามกฎหมายที่ดิน แต่อาจมีฐานความ
ชอบธรรมอื่น เช่น การเสียภาษีบ ารุงท้องที่ โดยหากได้ท าประโยชน์ในที่ดินก็จะต้องเสียภาษีบ ารุงท้องที่ ไม่ว่า
จะมีสิทธิในที่ดินนั้นหรือไม่ จึงมีข้อพิจารณาว่าหากผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิในที่ดินแล้ว ก็ไม่ควรมีสิทธิท าประโยชน์
ในที่ดิน และไม่ควรต้องเก็บภาษีใช่หรือไม่ การเก็บภาษีบ ารุงท้องที่จากผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินจึงเป็นข้อพิสูจน์หนึ่ง
ว่าบุคคลสามารถท าประโยชน์ในที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิได้ เป็นการถือครองตามความเป็นจริงที่สมควรได้รับความ
คุ้มครองในระดับหนึ่ง เช่น การด าเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดหา
ประโยชน์ในที่ราชพัสดุที่ถูกบุกรุกโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2556 โดยให้มีการ
จัดท าแผนงานหรือโครงการแก้ไขปัญหาที่ราชพัสดุซึ่งถูกบุกรุกเป็นประจ าปีทุกปี หรือจัดท าแผนงานหรือ
โครงการเฉพาะแปลงใดแปลงหนึ่งเป็นคราวๆ ไป เป็นต้น
การติดตามตรวจสอบการใช้ที่ดินของหน่วยงานรัฐ
การที่หน่วยงานรัฐจะน าที่ดินของรัฐไปใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไข
ตามที่ได้ตกลงกับหน่วยงานผู้ดูแลทรัพย์สินไว้แต่แรก ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนั้น หน่วยงานผู้ดูแล
ทรัพย์สินย่อมมีอ านาจในการเรียกที่ดินคืน เช่น อ านาจของกรมธนารักษ์ในมาตรา 22 พระราชบัญญัติ
ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ที่สามารถเรียกคืนที่ราชพัสดุได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นกลไกที่ท าให้สามารถตรวจสอบการใช้
6-10 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย