Page 132 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 132

บทที่ 3
                                                                                        สถานการณ์ในประเทศไทย



               3.3  สรุป


                       การประกาศเขตป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ และเขตอนุรักษ์อื่นๆ น ามาสู่การบังคับอพยพและการขับ
               ไล่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งจากกรณีศึกษาใน 4 พื้นที่ข้างต้นสามารถสรุปสถานการณ์และ

               สภาพปัญหาได้ดังนี้

                       กำรประกำศเขตเหนือที่ดินของรัฐขำดกระบวนกำรเข้ำไปมีส่วนร่วมของประชำชน

                       กระบวนการประกาศเขตเหนือที่ดินของรัฐตามกฎหมายนั้นขาดการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชน

               ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ เช่น เดิมกระบวนการประกาศเขตอนุรักษ์นั้นไม่ได้มีการก าหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น

               และเปิดโอกาสให้ชุมชนที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อประกอบการพิจารณาด าเนินการ
                                            31
               ประกาศเขตอนุรักษ์ไว้ในกฎหมาย  เป็นต้น ท าให้กระบวนการประกาศเขตอนุรักษ์นั้นเกิดการละเลยโดยไม่
               ค านึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งประชาชนจะทราบว่าพื้นที่ดังกล่าว
               กลายเป็นเขตอนุรักษ์ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่น าหลักเขตหรือป้ายมาแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวได้รับการประกาศเป็นเขต

               อนุรักษ์แล้ว แม้ว่าในทางกฎหมายจะให้สิทธิแก่ประชาชนในการที่จะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อพิสูจน์การเข้าถือครอง

               ที่ดินก่อนหน้าการประกาศเขตอนุรักษ์ก็ตาม แต่กระบวนการดังกล่าวสร้างความไม่สะดวกให้กับประชาชน
               และก่อให้เกิดความไม่แน่นอนว่าสิทธิของประชาชนจะได้รับการรับรองโดยค าพิพากษาของศาลหรือไม่ เพราะ

               ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์พยานหลักฐาน

                       ผลกระทบต่อสิทธิทำงวัฒนธรรม


                       ในเชิงวัฒนธรรมการประกาศเขตอนุรักษ์ต่างๆ ทับที่ดินที่ประชาชนท าประโยชน์อยู่นั้นส่งผลต่อ
               วิถีชีวิตของประชาชนในลักษณะที่สร้างข้อจ ากัดในการด ารงชีวิตในวิถีดั้งเดิม เช่น กรณีของชาวกะเหรี่ยงที่มี

               วิถีชีวิตในการท าเกษตรแบบไร่หมุนเวียน แต่เมื่อมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติและถูกจ ากัดสิทธิในการใช้
               ประโยชน์ที่ดินตามวิถีชีวิตดั้งเดิม กรณีของชาวเลที่วิถีชีวิตผูกพันกับการท าประมงเพื่อยังชีพ การประกาศเขต

               อุทยานแห่งชาติครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลเป็นเหตุให้ชาวเลไม่สามารถท าการประมงเพื่อยังชีพได้ เป็นต้น
               ซึ่งในทางกฎหมายบรรดาสิทธิทั้งหลายเหล่านี้ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติหน่วยงานของรัฐ

               ไม่ได้ค านึงถึงสิทธิทางวัฒนธรรม และมองว่าวิถีชีวิตดังกล่าวเป็นการท าลายทรัพยากรธรรมชาติ ไม่สมควรให้

               ด าเนินวิถีชีวิตในลักษณะดังกล่าวอีกต่อไป











               31   ในปัจจุบันพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 8 ได้ก าหนดให้กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในการก าหนดให้
                   บริเวณใดเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือการขยายอุทยานแห่งชาติ หรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดจะต้องให้
                   มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชน.



               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      3-21
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137