Page 129 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 129

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       (2)  ที่ดินที่เป็นที่รำชพัสดุ

                                                                            25
                       ที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518  ที่ดินประเภทนี้ได้มีหน่วยงานของ
               รัฐเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว ซึ่งตามกฎหมายที่ราชพัสดุนั้นจะต้องเป็นที่ที่หน่วยงานของรัฐได้เข้าใช้

               ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ในทางราชการแล้ว ซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

                       ผลทางกฎหมายจากการแบ่งพื้นที่เป็น 2 ประเภทดังกล่าว ท าให้ปัญหาสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินแบ่ง

               ออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีของที่ดินที่เป็นเขตสงวนหวงห้าม กรณีที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุ ดังนี้

                       –  กรณีที่ดินหวงห้าม ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาลักษณะที่ดินสงวนหวงห้าม พบว่าที่ดินสงวน

                          หวงห้าม เช่น กรณีของที่ดินทรงสงวนตามพระบรมราชโองการ ลับ ที่ 2/249 ลงวันที่ 16 กันยายน
                          2465 ก าหนดให้ที่ดินในเขตทรงสงวนมิใช่กรรมสิทธิ์ของกองทัพเรือ กองทัพเรือคงมีเพียงอ านาจ

                          อนุญาตให้คนไทยเข้าจับจองได้เท่านั้น ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าชาวบ้านผู้ใดได้ครอบครองที่ดิน
                          ในเขตนี้มาก่อนมีพระบรมราชโองการโดยมีหนังสือส าคัญส าหรับที่ดินชาวบ้านก็มีสิทธิอยู่ในเขต

                          ต่อไปได้ แต่หากประชาชนได้เข้าอยู่อาศัยในเขตทรงสงวนโดยมิได้ขออนุญาตต่อกองทัพเรือ
                                                                                           26
                          ก็ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ และที่ดินดังกล่าวก็ไม่สามารถเอาไปออกเอกสารสิทธิได้

                       สถานการณ์ในปัจจุบัน กองทัพเรือได้มีประกาศกองทัพเรือ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ราษฎร
                                                                27
               จับจองที่ดินในเขตทรงสงวน อ าเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  ซึ่งได้ก าหนดหลักเกณฑ์เพื่อแก้ไขปัญหาในการ
               พิจารณาอนุญาตให้ราษฎรจับจองที่ดินในเขตทรงสงวน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้












                   ประโยชน์ของส่วนราชการ แต่ส่วนราชการยังไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์เลย ยังคงมีสภาพเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและไม่เป็นที่ราช
                   พัสดุ โปรดดูบันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 382/2534  อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
                   ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 นั้น ตามมาตรา 6 ได้นิยามความหมายของที่ราชพัสดุครอบคลุมไปถึงที่ดินที่สงวน
                   หรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย ท าให้นิยามความหมายของที่ราชพัสุดในปัจจุบันครอบคลุมไปถึงที่ดิน
                   ที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อใช้ประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นว่า เมื่อที่ดิน
                   ดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุและเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐตามกฎหมายแล้ว สถานะของประชาชนจะเป็นเช่นไร
               25    พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518,
                   มาตรา 4 ที่ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                   ดังต่อไปนี้
                   (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
                   (2) อสังหาริมทรัพย์ส าหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ า ทางหลวง
                      ทะเลสาบ
                   ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ
               26   บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 289/2538
               27   ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 131 ตอนพิเศษ 2 ง วันที่ 7 มกราคม 2557



               3-18                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134