Page 131 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 131
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
29
– กรณีที่ดินที่เป็นราชพัสดุ ข้อเท็จจริงที่ได้จากรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
พบว่าในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีชาวบ้านอ้างว่าได้อยู่อาศัยในพื้นที่มาก่อนการประกาศเขตตาม
พระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อ าเภอเมืองกาญจนบุรี อ าเภอวังขนาย อ าเภอ
บ้านทวน และอ าเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2481 และมีการสืบสิทธิต่อๆ กันมาต่อเนื่อง
แต่ด้วยผลของการประกาศเขตสงวนหวงห้ามนี้ท าให้ที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ที่ดินสามารถออกเอกสาร
สิทธิได้แต่ตามกฎหมาย ก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนในสิทธิที่ชาวบ้านใช้เพื่ออยู่อาศัยในที่ดิน ท าให้
เกิดข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวมาโดยตลอด จนเป็นเหตุให้
คณะรัฐมนตรีต้องออกมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2545 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหา
ในการจัดให้ราษฎรผู้บุกรุกเช่าที่ราชพัสดุ ซึ่งในชั้นต้นตามมาตรการนี้ชาวบ้านสามารถเช่าที่ดินได้
ตามเนื้อที่ครอบครองใช้ประโยชน์จริงเป็นการชั่วคราวครั้งละไม่เกิน 3 ปี
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผ่านมาบริเวณที่ราชพัสดุในต าบลแก่งเสี้ยนมีที่ดินเพียงบางแปลงเท่านั้น
ที่ได้รับการจัดให้เช่าเพื่อท าธุรกิจการเกษตร ส่วนชาวบ้านกลับไม่ได้รับการด าเนินการให้เช่า และต่อมาในปี
พ.ศ. 2559 ในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์อยู่ได้ด าเนินการจัดท าโครงการบ้านธนารักษ์ส าหรับข้าราชการ
และลูกจ้างกองทัพบก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม น ามา
สู่การขับไล่ชาวบ้านจ านวน 30 รายออกจากพื้นที่พิพาท และคัดค้านมิให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดท า
30
สาธารณูปโภคในพื้นที่พิพาท แม้ชาวบ้านจะได้เสียภาษีบ ารุงท้องที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม
ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ราชพัสดุในการครอบครองของกองทัพ ปัญหาลักษณะ
คล้ายๆ กันยังได้เกิดขึ้นในพื้นที่อ าเภออื่นอีก
3.2.4.2 สภาพปัญหาในปัจจุบัน
(1) สิทธิในที่ดินไม่มีความชัดเจนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงว่ารัฐจะใช้อ านาจเข้ามากระทบสิทธิของตน
เมื่อใด
(2) หน่วยงานของรัฐมีแนวโน้มจะกดดันประชาชนให้ออกจากพื้นที่ โดยการห้ามมิให้มีการน า
สาธารณูปโภคเข้าสู่ที่ดิน
(3) การที่ประชาชนไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน ท าให้ไม่สามารถเอาที่ดินไปใช้ประโยชน์ในทางทรัพย์สิน
ได้อย่างเต็มที่เหมือนกับที่ดินทั่วไป เช่น การเอาที่ดินไปจ านองกับธนาคาร เป็นต้น
(4) แม้ประชาชนจะได้เสียภาษีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของภาษีบ ารุงท้องที่ก็ไม่ท าให้
ประชาชนมีสิทธิที่จะอ้างกับรัฐในการครอบครองที่ดิน
29 สรุปจากรายงานผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ 213/2562 และรายงานผลการพิจารณา
เรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ 1160/2558
30 รายงานผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ที่ 213/2562
3-20 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย