Page 55 - คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา : ระดับประถมศึกษาตอนต้น
P. 55

คูมือการจัดการเรียนรูสิทธิมนุษยชนศึกษา • ระดับประถมศึกษาตอนตน



                     6.  นักเรียนชวยกันยกตัวอยางกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวไดมีสวนรวมในการทํากิจกรรม
                     7.  นักเรียนชวยกันสรุปขอคิดที่ไดจากบทเรียนและเชื่อมโยงถึงความสําคัญของการมีสวนรวม

              ในการทํากิจกรรมของครอบครัว และสอดคลองกับสิทธิเด็กเรื่องการมีสวนรวมวา เด็กทุกคนมีสิทธิในการ
              แสดงความคิดเห็น แสดงออก ไดรับการตอบสนองจากผูใหญและมีสวนรวมในการตัดสินใจในเรื่องตางๆ
              ที่มีผลกระทบตอตนเอง

              สื่อ/แหลงเรียนรู
                     1.  บัตรขอความ 3 ขอความ

                     2.  ภาพการมีสวนรวมในกิจกรรมของครอบครัวจํานวน 3 ภาพ
                     3.  ใบกิจกรรมที่ 4.3.1 เรื่องการทํากิจกรรมรวมกันในครอบครัว

              การวัดประเมินผล
                     1.  การมีสวนรวมในกิจกรรม
                     2.  การใชเหตุผลในการตอบคําถาม

                     3.  การนําเสนอผลงาน
                     4.  การแสดงความคิดเห็น

              ขอเสนอแนะ
                     ควรจัดกิจกรรมใหนักเรียนรูสึกวาตัวเองไดรับการยอมรับและเคารพในความคิดเห็นของเด็ก
              จากผูใหญ จะเปนการหลอหลอมใหเด็กไดเติบโตเปนผูใหญที่มีเหตุผล มีกาลเทศะ รูวาอะไรควรไมควร
              เคารพสิทธิของตนเองและผูอื่น ซึ่งการจัดกิจกรรมการมีสวนรวมจะชวยลดชองวางทางสังคมได


              ความรูสําหรับครู
                     การทํากิจกรรมรวมกันในครอบครัว หมายถึง การใชเวลาที่มีคุณภาพของครอบครัว คือ เวลาที่
              สมาชิกในครอบครัวไดอยูรวมกัน  และมีการเรียนรูซึ่งกันและกันอยางเอาใจใส  เปนพื้นฐานสําคัญตอ
              พัฒนาการและความอยูดีมีสุขของลูก พอแมสามารถชวยลูกใหเรียนรูถึงชีวิตในสังคมเพื่อใหลูกเติบโตเปน
              ผูใหญที่สมบูรณ การที่พอแมอยูพรอมหนาในครอบครัว เด็กจะเรียนรูความสัมพันธ การแบงปนและเรียนรู

              ที่จะรักผูอื่น


              54
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60