Page 46 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2561
P. 46

บทที่ ๒


                                                             การประเมินสถานการณ์



                             ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง








           การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองพิจารณาตามหลักตัวชี้วัด (indicators) ซึ่งก�าหนดให้รัฐ
           ต้องเคารพ ให้การคุ้มครอง และด�าเนินการให้เกิดขึ้นตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้ตามกติกา ICCPR อนุสัญญา CAT และ
           อนุสัญญา CPED เป็นส�าคัญ สิทธิบางประการมีลักษณะเป็นสิทธิที่มิอาจเพิกถอนหรือลิดรอนได้ไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ

           (non-derogable rights) อาทิ สิทธิที่จะไม่ถูกท�าให้เสียชีวิตโดยอ�าเภอใจ และสิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน เป็นต้น
           สิทธิบางประการรัฐอาจจ�ากัดได้ (derogable rights) เท่าที่จ�าเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ ความสงบ
           เรียบร้อย การสาธารณสุข หรือการรักษาศีลธรรมโดยรวมของสังคม โดยตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ การจ�ากัด

           สิทธิต้องบัญญัติเป็นกฎหมาย นอกจากนี้ ในบางสถานการณ์ที่เป็นภัยร้ายแรง รัฐอาจจ�ากัดสิทธิบางประการเพิ่มเติมได้
           แต่การด�าเนินการดังกล่าวต้องมีเหตุผลที่ชอบธรรมและจะต้องกระท�าอย่างจ�ากัดเท่าที่จ�าเป็นเมื่อไม่สามารถใช้มาตรการ
           หรือวิธีการอื่นใดแทนได้ ทั้งต้องได้สัดส่วนและเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งหลักการนี้ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
           แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๓ มาตรา ๒๖ ด้วย



           ในปี ๒๕๖๑ กสม. ประมวลภาพรวม ประเมินสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค และมีข้อเสนอแนะด้านสิทธิพลเมืองและ
           สิทธิทางการเมือง ใน ๓ ประเด็น ดังนี้
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51