Page 39 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2561
P. 39

รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๑



          ๒. สิทธิและเสรีภาพท่ี่พึงได้รับการคุ้มครองของไทย


          ๒.๑ สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          สิทธิและเสรีภาพท่ี่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐  ปรากฏอยู่ในบทบัญญัติ
                                                                                       ๑
          หลายส่วน บทบัญญัติหลักปรากฏในหมวดที่ ๑ บททั่วไป และหมวดที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากนี้
          ยังมีปรากฏในส่วนท่ี่เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในหมวดท่ี่ ๕ และแนวนโยบายแห่งรัฐในหมวดท่ี่ ๖ ดังนี้


           หมวดที่ ๑ บท ทั่วไป   • ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
           หมวดที่ ๓ สิทธิ         (มาตรา ๔)
           และเสรีภาพของปวงชน • สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว
           ชาวไทย (มาตรา ๒๕-๔๙)    การใดที่มิได้ห้ามหรือจ�ากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น ๆ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะ
                                   ท�าการนั้นได้ และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น
                                   ไม่กระทบกระเทือน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี
                                   ของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น (มาตรา ๒๕)
                                 • การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจ�ากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ
                                   ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจ�ากัดสิทธิหรือเสรีภาพเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบศักดิ์ศรี
                                   ความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจ�าเป็นในการจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย
                                   ทั้งนี้ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป (มาตรา ๒๖)
                                 • บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย สิทธิและเสรีภาพได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
                                   ชายและหญิงเท่าเทียมกัน ห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลโดยเหตุต่าง ๆ มาตรการที่รัฐ
                                   ก�าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น
                                   ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เจ้าหน้าที่รัฐอาจจะถูกจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพในส่วนที่เกี่ยวกับ
                                   การเมือง สมรรถภาพ วินัย จริยธรรม (มาตรา ๒๗)
                                 • สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย (มาตรา ๒๘)
                                 • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (มาตรา ๒๙)
                                 • สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงานในภาวะทั่วไปยกเว้นภาวะที่ไม่ปกติ (มาตรา ๓๐)
                                 • เสรีภาพในการถือศาสนา (มาตรา ๓๑)
                                 • สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว (มาตรา ๓๒)
                                 • เสรีภาพในเคหะสถาน (มาตรา ๓๓)
                                 • เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและเสรีภาพทางวิชาการ (มาตรา ๓๔)
                                 • เสรีภาพสื่อมวลชน (มาตรา ๓๕)
                                 • เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร (มาตรา ๓๖)
                                 • สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก (มาตรา ๓๗)
                                 • เสรีภาพการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ (มาตรา ๓๘)
                                 • เสรีภาพในการประกอบอาชีพ (มาตรา ๔๐)
                                 • สิทธิของบุคคลและชุมชนในการรับทราบและเข้าถึงข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะ การเสนอ
                                   เรื่องร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยเร็ว การฟ้องหน่วยงาน
                                   ของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระท�าหรือการละเว้นการกระท�าของข้าราชการ พนักงาน
                                   หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ (มาตรา ๔๑)
                                 • เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะ (มาตรา ๔๒)
                                 •  สิทธิของบุคคลและชุมชนในการรักษาดูแลจารีตท้องถิ่นอันดีงาม ในการจัดการ บ�ารุง ใช้ประโยชน์
                                   ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การเข้าช่ื่อกันเสนอแนะรัฐ
                                   การจัดระบบสวัสดิการชุมชน (มาตรา ๔๓)



       38
              ๑   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐.
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44