Page 20 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 20
๙.๒) เราะห์:
“ฉันชื่อเราะห์... ฉันได้พบกับนายทหารยศจ่าคนหนึ่ง เขาพยายามเข้ามาพูดคุยด้วย จนฉันให้ความสนิทสนม
เขาท�าให้ฉันเชื่อว่า เขาเป็นทหารที่ดีมีความรับผิดชอบ พร้อมที่จะให้การดูแลผู้หญิงมุสลิมเช่นฉันเป็นอย่างดี เขาใช้วิธี
เข้ามาสนิทสนมกับฉัน มาเยี่ยมฉันที่บ้านบ่อยมากขึ้น... ฉันคบหาอยู่กับจ่าทหารคนนี้ ได้ราว ๑ ปี จึงได้รู้ความจริงว่า
เขามีเมียมีลูกมาก่อนที่จะรู้จักกับฉัน เมื่อฉันสอบถามเขาก็สารภาพและบอกว่าก�าลังจะหย่าขาดกับภรรยา เขาเพียง
อยู่ด้วยกันเพราะเห็นแก่ลูก รอให้ลูกเรียนจบก่อนเขาจะหย่าขาดจากภรรยามาอยู่ดูแลฉัน เขาสัญญาจนฉันเชื่อใจมั่นใจ
ในตัวเขา และยอมมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็ไม่ได้ด�าเนินการใดๆ ที่จะท�าให้เราได้มีชีวิต
อยู่ร่วมกันอย่างเป็นเปิดเผย มิหน�าซ�้ากลับไม่พยายามติดต่อเหมือนอย่างเคย จนฉันต้องติดต่อกับผู้บังคับบัญชาของเขา
เขาจึงได้โทรกลับมา...
เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปท�าให้ฉันได้รู้ว่าผู้ชายคนนี้ก�าลังหลอกฉัน ท�าให้ฉันตายใจ เชื่อค�ามั่นสัญญา
ที่ให้ไว้ ทั้งที่เขาไม่ได้คิดที่จะรับผิดชอบอย่างแท้จริงตั้งแต่ต้น เขาท�าให้ฉันเชื่อใจว่าเขาเป็นชายชาติทหารที่ดี
มีความรับผิดชอบ ไม่เคารพศักดิ์ศรีของฉัน ไม่มีความซื่อสัตย์ และท�าตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับฉัน และหลังจากนั้น
ไม่นานเขาก็ได้ย้ายไปประจ�าอยู่ต้นสังกัด และค่อยๆ ขาดการติดต่อ...
ฉันถูกเหยียบย�่าศักดิ์ศรีท�าให้เสียชื่อเสียง ยังมีเพื่อนผู้หญิงมุสลิมอีกหลายคนที่ถูกย�่ายีเกียรติยศและ
ความเป็นผู้หญิงเช่นเดียวกับฉัน จากทหารที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบ แต่ในขณะเดียวกันก็ฉวยโอกาส
แสวงหาประโยชน์จากผู้หญิงในหมู่บ้าน
ฉันจึงต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้หญิง ความรับผิดชอบจากหน่วยงานของรัฐที่จะต้องควบคุม
ดูแลความประพฤติของเจ้าหน้าที่ที่ลงมาปฏิบัติการในชุมชน ลงโทษผู้กระท�าความผิด และชดเชยความเสียหายที่
เกิดขึ้นแก่ผู้หญิง สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันคือ ความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่ยังถูกมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีใครใส่ใจ
เยียวยา แม้เราจะไม่สูญเสียชีวิต แต่เราผู้หญิงก็ไม่สามารถจะมีชีวิตต่อไปได้อย่างปกติสุขเหมือนเดิม เราจึงต้องการ
ความยุติธรรม”
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9