Page 17 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 17

๔) ซีรีน : กรณีเด็กหญิงถูกข่มขืนและถูกบังคับแต่งงาน


                        ซีรีน อายุ ๑๔ ปี เป็นเด็กหญิงมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เธอถูกชายข้างบ้านข่มขืน พ่อแม่ของเธอได้ไป
                 แจ้งความที่สถานีต�ารวจภูธรอ�าเภอ ชายที่ข่มขืนเธออ้างกับเจ้าหน้าที่ว่าเขากับเธอรักใคร่ชอบพอกัน และการมีเพศสัมพันธ์

                 เป็นความพอใจของทั้งสองฝ่าย ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล เขาให้การต่อดะโต๊ะยุติธรรม เช่นเดียวกัน และเขายินดีที่
                 จะแต่งงานกับเธอตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งดะโต๊ะยุติธรรมและพ่อแม่ของเธอก็เห็นด้วยเพื่อที่จะจัดการแต่งงานที่ถูกต้อง
                 ตามศาสนาอิสลาม และเพื่อให้พ้นจากความอับอาย
                        ซีรีนไม่กล้าคัดค้านการแต่งงานต่อหน้าศาลเพราะเธอมีความรู้สึกหวาดกลัวมาก ผู้พิพากษาหญิงในศาลสังเกตว่า

                 ซีรีนมีอาการหวาดกลัว และไม่ยอมตอบค�าถามใดๆ ในศาล ขณะที่จ�าเลยพยายามพูดชี้น�าตลอด อีกทั้งยังสังเกตว่าในห้อง
                 พิจารณาคดี นอกจากมีผู้เสียหายและพ่อแม่ กับจ�าเลยและทนายแล้ว ยังมีผู้หญิงและเด็กอีกสองคนนั่งอยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วย
                 ผู้พิพากษาหญิงจึงได้ขอพักการพิจารณาคดี และสอบถามความยินยอมของซีรีนเป็นการส่วนตัวด้วยความใส่ใจ ซีรีนจึงได้เล่า
                 ให้ศาลฟังว่า ผู้หญิงและเด็กที่นั่งอยู่เป็นภรรยาและบุตรของชายที่ข่มขืนเธอ และพวกเขาบังคับให้ซีรีนยอมรับว่าชอบพอกัน

                 และยินดีที่จะแต่งงาน เพื่อให้ผู้ข่มขืนไม่ต้องรับโทษ ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะท�าร้ายเธอ
                        ในที่สุด ผู้พิพากษาหญิงจึงพิพากษาว่าเด็กหญิงซีรีนถูกข่มขืนกระท�าช�าเราโดยการบังคับข่มขืนใจ ศาลจึงไม่อนุญาต
                 ให้แต่งงาน และลงโทษจ�าคุกจ�าเลย ๑๕ ปี ตามกฎหมาย









                        ๕) มาเรีย : กรณีความรุนแรงทางเพศต่อเด็กหญิง


                        “ฉันชื่อมาเรีย... เมื่อยายรู้ว่าฉันถูกข่มขืนโดยผู้ชายในหมู่บ้านจึงไปแจ้งกับผู้น�าในชุมชน ซึ่งผู้น�าในชุมชนไม่ได้แนะน�า
                 ให้ยายไปแจ้งความเพื่อด�าเนินคดีกับคนที่ข่มขืนฉัน เพียงแต่ให้เขาจ่ายค่าเสียหายให้กับยายของฉันเพื่อให้เรื่องราวจบลง
                 โดยไม่ต้องถึงมือต�ารวจเป็นคดีความกัน.. ฉันไม่ได้รับการดูแลแต่อย่างใด ไม่มีใครสนใจว่าควรจะพาฉันไปตรวจร่างกายประเมิน
                 ความเสียหายหรือป้องกันไม่ให้ตั้งท้อง ดูเหมือนว่าในชุมชนจะมองเรื่องราวที่เกิดขึ้นและสร้างบาดแผลทั้งทางกายและจิตใจ

                 แก่ฉันนั้นเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถจะแก้ไขให้จบลงได้ด้วยการตัดสินใจของผู้น�าในชุมชน...
                        ต่อมาอีกสองสามเดือน... ฉันได้ตั้งท้อง ผู้น�าชุมชนจึงให้ผู้ชายที่ข่มขืนแต่งงานกับฉันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่มี
                 ใครค�านึงถึงความรู้สึกหรือถามถึงความต้องการของฉันที่ยังเป็นเพียงเด็กหญิงคนหนึ่ง แต่ทุกคนคิดแต่เพียงว่าเด็กในท้อง
                 ต้องมีพ่อ ไม่ว่าเขาจะเกิดมาด้วยวิธีใดก็ตาม… ฉันถูกบังคับให้แต่งงานกับชายที่แก่กว่าพ่อของฉัน และไม่เคยคิดที่จะรับเลี้ยง

                 ดูฉันเช่นภรรยา..
                          ฉันต้องแบกภาระตั้งท้องจากการกระท�าของเขา ฉันไม่กล้ามองหน้าใครในหมู่บ้าน เพราะดูเหมือนว่าทุกคนจะ
                 ประณามว่าฉันเป็นคนผิด… น่าแปลกที่เด็กหญิงในวัย ๑๔ ปีต้องยอมทนกับการท�าร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจจากคนใน
                 ชุมชน ฉันไม่สามารถที่จะทนอยู่ต่อไปได้ในหมู่บ้านที่ทุกคนได้ตัดสินลงโทษฉัน วันหนึ่งฉันจึงตัดสินใจเดินทางออกจากบ้าน

                 และชุมชนที่ไม่มีใครให้ความยุติธรรมแก่เด็กหญิงอย่างฉัน คงยังมีเด็กหญิงที่เผชิญชะตากรรมเช่นฉันอีกมาก และอีกนานสัก
                 เท่าใดที่พวกเราจะได้เข้าถึงความยุติธรรม”












                6      ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22