Page 15 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 15

๑.๒  เรื่องเล่าใต้ฮิญาบ: ประสบการณ์แสนขมขื่นของผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
                     ผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้จ�านวนมากมายต้องเผชิญกับปัญหานานาประการโดยที่ไม่มีมาตรการ

              และแนวทางในการคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา ที่เป็นรูปธรรม ดังประสบการณ์สุดรันทดจากหญิงมุสลิมในพื้นที่
                                                               ๔
              บางคนที่กล้าหาญก้าวออกมาเล่าเรื่องของเธอให้สังคมได้รับรู้   ต่อไปนี้


                        ๑) นาเดีย : กรณีกูกข่มขืน บังคับแต่งงาน บังคับเสพยาเสพติด และท�าร้ายร่างกาย
                        “หนูเป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัวข้าราชการ ตอนนั้นหนูอายุ ๒๔ ก�าลังเรียนปริญญาโท และท�างานเป็น

                 เลขานุการให้สามีของญาติ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลอยู่ในหน่วยงานระดับท้องถิ่นแห่งหนึ่ง เขาอายุเกือบ ๖๐ วันหนึ่งหนูถูกเขามอมยา
                 และข่มขืน จากนั้นเขาก็บังคับหนูข่มขู่หนูว่าไม่ให้เอาเรื่องนี้ไปบอกใคร เขาอ้างว่าจะเป็นเรื่องอับอายส�าหรับหนูและเสียหาย
                 ส�าหรับเขา...
                        สุดท้ายเขาบังคับให้หนูแต่งงานกับเขา การแต่งงานของหนูกับเขาเกิดขึ้นที่ส�านักงานคณะกรรมการกลางอิสลาม
                 ประจ�าจังหวัดแห่งหนึ่งในเวลา ๔ ทุ่ม มีเพียงรองประธานและคนสนิทของเขา โดยไม่มีพ่อแม่หรือญาติของหนูเป็นพยานรับรู้
                 เลย หนูไม่รู้ด้วยซ�้าว่าต้องตกเป็นภรรยาคนที่สี่ของเขา แม้กระทั่งใบนิกะห์หรือใบทะเบียนสมรสเขาก็ไม่ได้ให้หนูเห็นเลย
                 เขาเก็บไว้หมด...
                        เขาเสพยาเสพติดและเสพมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยาไอซ์ โคเคน และกัญชา ทุกครั้งที่ใช้เขาจะมีอารมณ์รุนแรงและมักใช้
                 ก�าลังกับหนู ทั้งทุบ ต่อยทุกวัน บางครั้งมดลูกบวม ถูกโกนคิ้ว โดยที่เขาให้เหตุผลไม่อยากให้หนูไปเจอกับสังคมภายนอกหรือ
                 เจอใคร เขายังเคยลากหนูออกจากห้องมาทางเดินของโรงแรมโดยที่หนูไม่ได้ใส่เสื้อผ้าเลย จนถึงการบังคับให้เสพยาไอซ์
                 จนติดยาเสพติด มีอาการทางประสาท ร่างกายทรุดโทรม เมื่อพ่อแม่ทราบเรื่องจึงให้หนูลาออกจากงานกลับมารักษาตัวที่บ้าน

                 และพยายามด�าเนินการขอหย่าขาดจากสามี แต่เขาพยายามขอคืนดี ไม่ยอมหย่า ถ้าอยากหย่าให้เดินเรื่องเอง...
                        ต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นร่างกายจากการบาดเจ็บจากการถูกท�าร้ายร่างกาย รวมถึงบาดแผลทางจิตใจจากการถูก
                 คุกคามต่อเนื่องทุกวัน ในที่สุดหนูตัดสินใจก้าวออกมาจากจุดนั้นเพื่อเข้าสู่กระบวนการหย่าที่คณะกรรมการกลางอิสลาม
                 ประจ�าจังหวัด หนูมาขอค�าแนะน�าจากเจ้าหน้าที่ หนูอายมากที่หนูต้องเจอกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ชายหนูต้องเล่าเรื่องราวของ
                 หนูให้เขาฟัง ซึ่งบางเรื่องมันน่าอายเป็นเรื่องไม่เหมาะสม มันเหมือนเป็นการประจานตัวเอง  หนูถูกเจ้าหน้าที่คณะกรรมการ
                 กลางพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยาม ต�าหนิหนูว่า ที่มาขอหย่าเพราะท�าตัวไม่ดี สามีถึงได้ทุบตี และเป็นเรื่องภายในครอบครัว
                 ที่ผู้หญิงต้องมีความอดทนและให้เกียรติสามี...
                        การหย่าเป็นไปอย่างยากล�าบาก เนื่องจากจะต้องท�าการหย่าในพื้นที่ที่ได้ท�าบันทึกการสมรสเท่านั้นและต้องมีเอกสาร
                 บันทึกการสมรสมาแสดง แต่เอกสารทั้งหมดอยู่กับเขา หนูจึงต้องไปหาพยานผู้ชายมาสองคนเพื่อประกอบการแสดงความ

                 จ�านงขอหย่า ต้องรับภาระในการออกค่าใช้จ่ายเอง หนูรู้สึกหวาดกลัวและอับอายเวลาที่ต้องบอกเล่าเรื่องความรุนแรงใน
                 ครอบครัวและความรุนแรงทางเพศที่ถูกสามีกระท�า แล้วห้องที่เจ้าหน้าที่ให้พบก็ไม่ใช่ห้องเฉพาะ มีหลายคนที่มาเรียงแถวเพื่อ
                 ที่จะเข้าพบ เรื่องราวของเราต้องถูกคนที่อยู่ข้างๆ รับฟังไปด้วย และเราเองก็ได้รับฟังเรื่องราวของคนอื่น เราเห็นว่า ไม่มีการ
                 จะปกป้องสิทธิของตนเอง และเกิดค�าถามว่า การปกป้องสิทธิของผู้หญิงอยู่ตรงไหน...
                        การด�าเนินเรื่องการหย่าใช้เวลานานพอสมควร โดยต้องเข้าพบคณะกรรมการอิสลามถึง ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ไปพบเพื่อ
                 สอบถามถึงวิธีการกรณีที่ฝ่ายชายไม่ยินยอมหย่า และให้เหตุผลที่สมเหตุสมผลว่าจะด�าเนินการหย่าเพื่ออะไร ครั้งที่ ๒ ยื่นเรื่อง
                 ให้คณะกรรมการกลางอิสลามเพื่อท�าหนังสือแจ้งฝ่ายชายให้มาไกล่เกลี่ย แต่เขาไม่ยินยอมไกล่เกลี่ย จึงต้องมีครั้งที่ ๓ เพื่อท�า
                 พิธีหย่าโดยมีคนของฝ่ายชายรับรู้ฝ่ายเดียว หนูไม่กล้าด�าเนินคดีเทางอาญาตามกฎหมายไทย เพราะถูกข่มขู่ถึงความปลอดภัย
                 ของตัวเองและครอบครัว และการด�าเนินการนีก๊ะมีแต่คนของฝ่ายชายรับรู้ ไม่มีคนของฝ่ายหนูรับรู้เลย ในที่สุดหนู่ขอหย่าขาด
                 จากเขาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพ่อแม่ แต่จนถึงปัจจุบันอดีตสามีก็ยังคงพยายามคุกคามเพื่อบังคับให้เธอกลับไปใช้ชีวิตร่วม
                 กับเขาอีก”





              ๔ น�าเสนอในการประชุมผู้หญิง เรื่อง “การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี.


                4      ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20