Page 19 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 19
สถานภาพการตรวจสอบโครงการ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศที่ผ่านมา ได้สร้างผลที่ตามมาทั้งด้านบวก
และด้านลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลในด้านลบนั้น ส่วนใหญ่จะถูกเผยแพร่ออกมาใน
เรื่องความไม่โปร่งใสและขาดหลักธรรมาภิบาล, ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม,
การละเมิดสิทธิมนุษยชน และรวมถึงการเยียวยาที่ไม่เป็นธรรม และมีหลายกรณีที่
ชุมชนในประเทศกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการต่าง ๆ เหล่านี้
ได้ร้องเรียนให้หน่วยงานของประเทศไทยได้ร่วมตรวจสอบ โดยเฉพาะการร้องเรียนต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนให้ตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาทิ โครงการ
ปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน�้าตาลเกาะกง, โครงการปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน�้าตาลโอด
อร์เมียนเจย, โครงการท่าเรือน�้าลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เป็นต้น
การตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ส่งผลให้รัฐบาล
ของไทยยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกถึงสถานการณ์ปัญหาของการลงทุน
โดยตรงของไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 กรณีโครงการ
ท่าเรือน�้าลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ประเทศเมียนมา และวันที่ 2 พฤษภาคม
2560 กรณีโครงการปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน�้าตาลโอดอร์เมียนเจย ประเทศ
กัมพูชา ซึ่งมีสาระส�าคัญคือ ให้มีการจัดตั้งกลไกหรือก�าหนดภารกิจการก�ากับดูแล
การลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้าน
สิทธิมนุษยชนโดยน�าหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
(การปฏิบัติตามกรอบการคุ้มครอง เคารพ เยียวยา) มาเป็นกรอบในการด�าเนินการ
ของการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทย
โครงการที่น�ามาใช้เป็นกรณีศึกษาในการศึกษานี้ มีทั้งที่ได้ผ่านการพิจารณา
ตรวจสอบ และอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และกรณีศึกษาที่ไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบรวม
ทั้งหมด 12 กรณี ซึ่งสรุปได้ 4 กลุ่มดังนี้
15