Page 38 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 38

14


                  เลือกปฏิบัติในกรอบกฎหมายอื่นหรือในมิติอื่น    การศึกษาในส่วนที่สองเป็นการชี้ให้เห็นการปรับใช้หลัก
                  กฎหมายเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ  อันท าให้เห็นว่ากฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

                  ครอบคลุมการห้ามเลือกปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศเพียงใด   อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีข้อพิจารณาใน
                  เบื้องต้นว่า เนื่องจากการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาภาพรวมของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับ
                  หลักความเท่าเทียมกันหรือหลักความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติในประเทศไทย โดยมิได้มุ่งศึกษา
                  เฉพาะกรณีปัญหากรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนั้น ในส่วนที่สอง จึงเป็นเพียงการหยิบยกประเด็นปัญหาต่างๆ ที่

                  เกิดขึ้นจากการส ารวจ ศึกษา และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จัดกลุ่มสนทนา รับฟังความคิดเห็น  มา
                  วิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาในภาพรวมว่าภายใต้
                  กฎหมายไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น การคุ้มครองความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติเพียงพอและ
                  ครอบคลุมแล้วหรือไม่ เพียงใด อันจะน าไปสู่ข้อเสนอแนะต่อไป


                  1.3  ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย


                             วิธีการด าเนินการวิจัย  (Research Methodology)  ส าหรับงานวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง
                  คุณภาพ (Qualitative) โดยวิธีการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ สังเคราะห์  โดยมีการศึกษาเชิง

                  เปรียบเทียบ (Comparative Analysis) กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ  และกฎหมาย
                  ไทยที่เกี่ยวข้อง  ในประเด็นความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งในส่วนของสภาพการเลือกปฏิบัติ
                  เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ ประเด็นการเลือกปฏิบัติ  ซึ่งอาจจ าแนกอธิบายรายละเอียดการด าเนินการวิจัย
                  ตามขอบเขตของการวิจัยได้ดังต่อไปนี้


                  1.4.  ขอบเขต ขั้นตอน และ วิธีการด าเนินการวิจัย


                         1.4.1  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรอบแนวคิด ความเห็น
                  ทั่วไป ข้อเสนอแนะต่างๆ ของกลไกด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาขาติ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการ

                  วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

                         1.4.2 รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย เกี่ยวกับความเสมอภาค (Equality)  และการไม่เลือก
                  ปฏิบัติ  (Non  –  Discrimination) ของต่างประเทศ โดยเลือกกฎหมายจากทั้งในประเทศที่อยู่ในระบบ

                  ประมวลกฎหมาย (Civil  Law  System)  และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common  Law  System)
                  เช่น กฎหมายกลุ่มสหภาพยุโรป  สหราชอาณาจักร  กฎหมายสหรัฐอเมริกา   กฎหมายแคนาดา  กฎหมาย

                  ออสเตรเลีย กฎหมายประเทศสวีเดน กฎหมายประเทศฟินแลนด์  รวมทั้งกฎหมายกลุ่มประเทศในเอเชีย

                  เช่น สิงค์โปร์ มาเลเซีย  โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
                         1.4.3 ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์สภาพปัญหาข้อเท็จจริงของการเลือกปฏิบัติ เหตุแห่งการเลือก

                  ปฏิบัติ ประเด็น หรือมิติของการเลือกปฏิบัติในต่างประเทศ เพื่อน ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกรณีของ
                  ไทย
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43