Page 35 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 35
11
จากกรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ และ มิติของการเลือก
ปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน (Distinction / Differentiation)
เกิดขึ้น และน าข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวิเคราะห์ภายใต้กรอบของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่ง
ประกอบด้วยปัจจัยทั้งสองดังกล่าวนั้น จะท าให้สามารถจ าแนกว่ากรณีใดเป็นกรณีของการเลือกปฏิบัติ
โดยตรง หรือการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม หรืออาจไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ การวิจัยนี้ขยายกรอบ
แนวคิดดังกล่าวออกไปอีก เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศยังได้มีการก าหนด
หลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อพิจารณาว่าการปฏิบัตินั้นเป็นเพียงการปฏิบัติแตกต่างกันอันสามารถท าได้ หรือเป็น
การเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อกฎหมาย โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีตัวอย่างเช่น หลักขอบแห่งดุลพินิจ (Margin
of Appreciation) การชั่งน้ าหนักกับผลประโยชน์อื่น มาตรการยืนยันสิทธิเชิงบวก (Affirmative
Action) เป็นต้น
เมื่อพิจารณาตามกรอบแนวคิดที่ขยายความออกมานี้ ท าให้สามารถจ าแนกสภาพข้อเท็จจริงหรือการ
ปฏิบัติที่มีปัญหาว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่นั้น ได้สองกรณีคือ
(1) การปฏิบัตินั้นเป็นการปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่ยังไม่เข้าองค์ประกอบของการเลือกปฏิบัติตาม
กฎหมายสิทธิมนุษยชน
(2) การปฏิบัตินั้นเป็นการปฏิบัติที่แตกต่างกัน และเข้าองค์ประกอบของการเลือกปฏิบัติตามกฎหมาย
สิทธิมนุษยชน ซึ่งโดยหลักแล้ว การปฏิบัติที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) นี้ จัดเป็นการ
ปฏิบัติที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน
ด้วยเหตุนี้ ประเด็นปัญหาส าคัญอันจะท าการศึกษาต่อไปก็คือ เมื่อมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันขัดต่อ
หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนแล้ว กฎหมายภายในของประเทศไทยมีการก าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ
ปฏิบัติแตกต่างกันซึ่งถือเป็น “การเลือกปฏิบัติ” อย่างไรบ้าง รวมทั้งเกิดประเด็นค าถามส าหรับการวิจัยนี้
อีกหลายประเด็น เช่น กฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมและเพียงพอแล้วหรือไม่กับการ
น ามาปรับใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ได้รับการปฏิบัติแตกต่างอันจัดอยู่ในความหมายของการเลือกปฏิบัติ
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลนั้นไม่ได้รับความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกันนั่นเอง โดยสามารถจ าแนกศึกษา
ปัญหาที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆ ของการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบของกฎหมาย
เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติและส่งเสริมหลักความเท่าเทียมกันในประเทศต่างๆ ว่า มีรูปแบบ ลักษณะ
องค์ประกอบ อย่างไร และกฎหมายไทยที่มีผลบังคับใช้อยู่นั้น จัดอยู่ในรูปแบบใด และควรมีการปรับปรุง
พัฒนาอย่างไรหรือไม่
จากกรอบแนวคิดการวิจัยดังกล่าวข้างต้น อาจน ามาสร้างกรอบการศึกษาภายใต้ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ดังจะเห็นได้จากแผนภาพดังต่อไปนี้