Page 37 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 37
13
จากกรอบแนวคิดการวิจัยดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงจะเริ่มจากการศึกษาหลักการ แนวคิด และ
ขอบเขตความหมายของหลักความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติในกรอบของกฎหมายสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศ จากนั้นจึงศึกษากรณีเฉพาะเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่างๆ และในมิติ
ต่างๆ เป็นล าดับต่อไป โดยการศึกษาวิจัยจะมีโครงสร้างแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้
ส่วนแรก ศึกษาแนวคิด ความหมาย ของการเลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมกัน โดยจ าแนก
ประเด็นศึกษาย่อยๆดังนี้
-ศึกษาลักษณะและความหมายของการเลือกปฏิบัติ ทั้งการเลือกปฏิบัติโดยตรงและโดยอ้อม
-ศึกษาหลักการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Discrimination) ตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย
-ศึกษาการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายไทยปัจจุบันเปรียบเทียบกับกรอบการเลือกปฏิบัติตาม
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นการเลือกปฏิบัติที่สอดคล้อง
กับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และการเลือกปฏิบัติในความหมายที่กว้างกว่า “เหตุแห่งการ
เลือกปฏิบัติ”
-ศึกษาหลักความเท่าเทียมกันหรือหลักความเสมอภาค (Principle of Equality)
-ศึกษามาตรการยืนยันสิทธิเชิงบวก (Affirmative Action)
-ศึกษา ขอบเขตของ “การเลือกปฏิบัติ” ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ
-ศึกษารูปแบบของการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นตัวแบบ (Model) ในการ
น าเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป
ส่วนที่สอง ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาการเลือกปฏิบัติ จากค าร้องต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาพข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย รับ
ฟังความคิดเห็น โดยจ าแนกประเด็นวิเคราะห์ตามสภาพปัญหากรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเลือกปฏิบัติ
ในกรณีบริการภาครัฐ กรณีการให้นมบุตรจากอกแม่ (Breastfeeding) การเลือกปฏิบัติในมิติของบริการ
ภาครัฐกรณีการศึกษา การเลือกปฏิบัติในกรณีการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การ
สื่อสารที่ท าให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) การคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติในภาคเอกชน การเลือก
ปฏิบัติในด้านสินค้าและบริการ การเลือกปฏิบัติด้านสินค้าและบริการต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี การเลือก
ปฏิบัติด้วยเหตุอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) กับการใช้ห้องน้ าสาธารณะ กรณีการเลือกปฏิบัติ
เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการส าหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กรณีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุตาบอดสี
กรณีการเลือกปฏิบัติในมิติการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น
การศึกษาในส่วนแรก จะท าให้เกิดความเข้าใจแนวคิด ความหมาย ขอบเขต ของการเลือกปฏิบัติ
ในกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการจ าแนกการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับการ