Page 30 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 30

6


                         การห้ามเลือกปฏิบัติเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ส าคัญอันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาหลาย

                  ฉบับ   โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจ านวน 7  ฉบับ
                  ได้แก่

                                -  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International

                  Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)
                                -  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International

                  Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)
                                -  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the

                  Elimination of All Forms of Discrimination Against Women – CEDAW)
                                -  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC)

                                -  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention

                  on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD)
                                -  อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย

                  ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or

                  Degrading Treatment or Punishment – CAT)
                                -  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with

                  Disabilities – CRPD)
                         นอกจากกฎหมายระหว่างประเทศในกรอบของสหประชาชาติดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ในระดับ

                  ภูมิภาค ยังปรากฏหลักความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติในกฎหมายระหว่างประเทศระดับ
                  ภูมิภาค เช่นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Convention on Human Rights)  อนุสัญญาว่า

                  ด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งอเมริกา (American Convention on Human Right) กฎบัตรอาฟริกาว่าด้วย

                  สิทธิมนุษยชนและสิทธิปวงชน (The African Charter on Human and People’s Rights)  เป็นต้น

                          เมื่อพิจารณาในระดับกฎหมายต่างประเทศพบว่า หลายประเทศมีการก าหนดกฎหมายภายในที่

                  คุ้มครองบุคคลจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยอาจเรียกว่า กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ (Anti-
                  Discrimination Law)  หรือกฎหมายความเท่าเทียมกัน (Equality Law)  เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา อาฟ

                  ริกาใต้ ฟินแลนด์ สวีเดน สิงค์โปร์  มีการก าหนดกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination
                  Law) โดยมีรูปแบบและลักษณะของกฎหมายที่แตกต่างกันไป

                         ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การห้ามเลือกปฏิบัติมีส่วนสัมพันธ์กับการส่งเสริมหลักความเท่าเทียมกัน  โดย
                  การเลือกปฏิบัติยังอาจจ าแนกเป็นการเลือกปฏิบัติโดยตรงและการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม  ส าหรับการเลือก

                  ปฏิบัติโดยตรงนั้นเป็นการพิจารณาถึงการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในสภาวะหรือเงื่อนไขที่

                  เหมือนกัน   ซึ่งมักพบในกรณีของการไม่ให้สิทธิบางประการกับบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มด้วยเหตุที่บุคคล
                  นั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ  ในกรณีภาครัฐ เช่น การตรากฎหมายจ ากัดสิทธิ

                  บุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ   กรณีการกระท าของภาคเอกชน เช่น การที่นายจ้างปฏิบัติต่อ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35