Page 31 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 31

7


                  ลูกจ้างแตกต่างกันด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ  หรือการกระท าของภาคเอกชนที่ปฏิเสธการให้บริการหรือ

                  จ าหน่ายสินค้ากับบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ   การเลือกปฏิบัติโดยตรงนี้จะเห็นได้จากการ
                  ปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เห็นได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติอันสะท้อนจากลักษณะหรือรูปแบบของการปฏิบัติที่มี

                  ความแตกต่างกันระหว่างบุคคลทีเกี่ยวข้อง   นอกจากนี้ยังมีกรณีการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม ซึ่งเป็นกรณีที่แม้

                  การปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์นั้นมีลักษณะเป็นกลาง (Neutral) แต่ส่งผลกระทบ (Impact) ในทางลบต่อบุคคลที่
                  เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ  อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศได้

                  ก าหนดนิยามและขอบเขตของการเลือกปฏิบัติโดยตรงและโดยอ้อมแตกต่างกันไป
                          ด้วยเหตุนี้  จึงน ามาสู่ปัญหาที่ควรศึกษาวิจัยว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีสภาพปัญหาของการ

                  เลือกปฏิบัติในด้านต่างๆอย่างไรบ้าง  มาตรการทางกฎหมายที่เป็นอยู่มีความเหมาะสมเพียงพอและ
                  สอดคล้องกับหลักการสากลของสนธิสัญญาฉบับต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่   ประเทศไทยควรมีการออก

                  กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติที่เป็นองค์รวมหรือเป็นกฎหมายกลางที่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในมิติ

                  หรือประเด็นต่างๆ หรือไม่  โดยควรท าการศึกษาวิจัยกฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมาย
                  ไทยในเรื่องดังกล่าวด้วย



                       1.2.3 กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)



                         จากความหมายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หลักความเสมอภาคเป็นหลักส าคัญซึ่งกฎหมาย

                  ระหว่างประเทศและกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องต่างรับรองไว้ ทั้งนี้เพื่อบรรลุถึงหลักดังกล่าวกฎหมายจึง

                  ต้องขจัดหรือป้องกันพฤติกรรมบางอย่างซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อหลักความเสมอภาคหรือหลัก
                  ความเท่าเทียมกัน  ซึ่งได้แก่ การปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งที่เหมือนกัน หรือการปฏิบัติที่เหมือนกันต่อ

                  สิ่งที่ต่างกัน รวมทั้งการปฏิบัติที่เหมือนกันแต่ส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบต่อบุคคลบางกลุ่ม  การปฏิบัติ

                  เหล่านี้อาจเรียกได้ว่า “การเลือกปฏิบัติ”  ทั้งนี้หากการปฏิบัติที่แตกต่างนั้น มีลักษณะที่สัมพันธ์กับ “เหตุ
                  แห่งการเลือกปฏิบัติ” (Ground of Discrimination)  ต่างๆ ตามที่กฎหมายก าหนดไว้  โดยเหตุเหล่านั้นมี

                  ความเกี่ยวข้องกับ คุณลักษณะเฉพาะของกลุ่มบุคคลในสังคมซึ่งมักเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางหรือมี
                  ประสบการณ์ที่ถูกกีดกัน ถูกผลักให้เป็นกลุ่มชายขอบ (Marginalized Group)   โดยการเลือกปฏิบัติอาจ

                  เกิดขึ้นในมิติต่างๆ ของการด าเนินชีวิตในสังคม เช่น การเลือกปฏิบัติในมิติของการจ้างแรงงานและการ
                  ประกอบอาชีพ การเลือกปฏิบัติในมิติของการบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน เป็นต้น    ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้

                  ว่าหลักการห้ามเลือกปฏิบัติจะน าไปสู่ความเท่าเทียมกันในท้ายที่สุด  ส าหรับการศึกษาวิจัยหลักการห้าม

                  เลือกปฏิบัติในงานวิจัยนี้  จึงน าปัจจัยสองประการซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาก าหนดกรอบแนวคิด
                  การวิจัย ได้แก่


                         1). เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Grounds of Discrimination, Protected Ground)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36